

นิตรสาร さくら ฉบับที่ 9

นิตยสาร さくらStyle
วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564
. . . . . สวัสดีพี่น้องชาวไทย ยินดีที่ได้รู้จักกับนิตยสาร さくらStyle วันศุกร์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ฉบับที่ 9
. . . . . นิตยสารฉบับที่ 9 นี้ เราจะพาไปดู
-
ことわざ慣用句 สุภาษิต สำนวน EP.8
-
Mind Map สนุกกับคำกริยา
-
ตะลุยไวยากรณ์และคำศัพท์ EP.7 “~ことにする”
-
สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่น EP.5 Bonsai (บอนไซ)
-
โจทย์ 500 N4 – N5 EP.5
-
ภาษาญี่ปุ่นวันละ 20 คำ "อักษร ค"
-
漢字 ไม่ยากอย่างที่คิด 351 – 360
-
เกร็ดความรู้ญี่ปุ่น “รวมขั้นตอนและมารยาทในการแช่ออนเซ็น”
-
ใคร ๆ ก็เข้าครัวไปกับ I’m JAVDEE “ชีสสด”
ことわざ慣用句 สุภาษิต สำนวน Ep.8 何食わぬ顔 (ทำหน้าตาไม่ได้กินอะไร)
[ความหมาย]
แกล้งทำหน้าไม่รู้ไม่ชี้ ไม่รู้เรื่อง ทั้งที่จริง ๆ แล้วรู้ดี, ไขสือ
ลักษณะอาการแกล้งทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ว่า “ฉันไม่ได้ทำนะ”
Mind Map ศัพท์ญี่ปุ่น ตอนที่ 5 สนุกกับคำกริยา
ในบทนี้ได้รวบรวมคำกริยาต่าง ๆ ที่น่าสนใจ และใช้บ่อยในชีวิตประจำวันมาบางส่วน เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจและจดจำ จึงนำมารวบรวมไว้โดยแบ่งออกเป็นหมวด ๆ เช่น การเคลื่อนไหวร่างกาย การแสดง อารมณ์-ความรู้สึก การทำกิจวัตรประจำวันต่าง ๆ เป็นต้น
เรื่องน่ารู้
ชาวญี่ปุ่นมักแสดงกริยาท่าทางต่าง ๆ ที่แสดงถึงมารยาทและการสื่อความหมายต่าง ๆ ออกมา โดยแสดงให้เห็นถึงลักษณะเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ในวัฒนธรรมของตน ซึ่งมีความหมายที่แตกต่างกันออกไป เช่น การโค้งในการทักทายขั้นพื้นฐานในหมู่ชาวญี่ปุ่นด้วยกันเอง ในการก้มศีรษะเพื่อโค้งคำนับกันนั้น สามารถทำได้ตั้งแต่การก้มศีรษะลงในระดับเพียงเล็กน้อยไปจนกระทั่งถึงการก้มศีรษะลงในระดับ 90 องศา โดยระดับขององศาในการก้มศีรษะลงนั้น จะขึ้นอยู่กับระดับความสุภาพที่ต้องการแสดงออกว่าต้องการแสดงออกมามากน้อยเพียงใด
ชาวญี่ปุ่นจะมีลักษณะกริยาท่าทางที่บ่งบอกให้เห็นถึง “ความถูกต้อง” และ “ความผิดพลาด” โดยการใช้สัญลักษณ์ที่เป็นเครื่องหมาย “วงกลม” หรือ 丸maru เพื่อแสดงให้เห็นถึงความหมายในเชิงบวก ไม่ว่าจะเป็น “ความถูกต้อง” “การสอบผ่าน” หรือ “การได้รับชัยชนะ” สำหรับเครื่องหมาย “กากบาท” หรือ “เครื่องหมายผิด” ที่เรียกว่า ばつmatsu นั้นจะแสดงให้เห็นถึงความหมายในเชิงลบ เช่น “ความผิดพลาด” “การสอบตก” เป็นต้น
ตะลุยไวยากรณ์และคำศัพท์
สำหรับสอบวัดระดับ ภาษาญี่ปุ่น N4
ตะลุยไวยากรณ์และคำศัพท์ ตอน ~ことにする
ความหมาย :: ตัดสินใจจะทำ....., ตัดสินใจจะไม่ทำ.....
อธิบาย :: ใช้ในกรณีที่ต้องการกล่าวว่า ผู้พูดนั้นได้ตัดสินใจว่าจะทำหรือไม่ทำบางสิ่งบางอย่างด้วยความตั้งใจของตนเอง กล่าวคือ ใช้แสดงผลของการตัดสินใจที่มาจากการจัดสินใจของผู้พูด ที่ได้เลือกตัดสินใจที่จะกระทำจากทางเลือกหลาย ๆ อย่าง จนสุดท้ายได้ตัดสินใจจะเลือกทำหรือไม่เลือกทำสิ่งนั้น
สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่น (ฉบับทำใหม่) Ep.6 Haiku (ไฮขุ)
. . . . . 『古池 や 蛙飛び込む水の音』(芭蕉) これは日本で最も有名な俳句の一つです。俳句は上の例から分かる
ように、『五・七・五』の合計17音節で表現されるきわめて短い形 式の詩なのです。
. . . . . 室町時代後期、15世紀~16世紀初頭に盛んになった『俳諧の連歌』 の発句 (最初の句)が、『俳諧』として独立し、江戸時代に松尾芭蕉(1644 - 94)らによって洗練された芸術性を与えられ,自然と人生を 融合する詩境をもって文芸の確固たる位置を築きました。
. . . . . 明治時代になり、正岡子規(1867 - 1902)がこの文学形式を『俳句』と 呼び、この名称が定着しました。日本人の耳に快く響く『七五調』すなわち7音節・5音節の句を単位とする17音節という簡潔な形式で、誰にでも比較的手軽にできることから、今日では俳句人口は 1,000万とも言わ れ、外国人にも愛好者が増えつつあります。
. . . . . สระน้ำอันเก่าแก่
. . . . . เจ้ากบตัวหนึ่งกระโดดลง
. . . . . เสียงน้ำพลันดังจ๋อม
. . . . . บะโซ มะทสึโอะ (Bashoo Matsuo)
. . . . . นี่คือโคลงไฮขุที่มีชื่อเสียงที่สุดบทหนึ่งของญี่ปุ่น จากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นว่า ไฮขุเป็นโคลงที่มีขนาดสั้นมากโดยมีเพียง 17 พยางค์ ประกอบไปด้วย 3 วรรค คือ วรรคละ 5, 7 และ 5 พยางค์ตามลำดับ
. . . . . บทกวีที่เรียกว่า ไฮไค-เร็งงะ (haikai-renga) เป็นที่แพร่หลายตอนปลายสมัย Mutomachi ค.ศ. 1338 – 1570 ช่วงต้นศตวรรษที่ 15 – 16 ส่วนแรก คือ 17 พยางค์ของ ไฮโคเร็งงะ เรียกกันว่า haikai ในสมัยเอะโดะ (ค.ศ. 1603 – 1868) บะโซ มะทสึโอะ (ค.ศ. 1644 – 1694) เป็นผู้สร้างขึ้นมาในวงวรรณทัศน์ในรูปแบบบทกวี โดยมีท่วงทำนองศิลปะที่ขัคเกลาประณีตที่พรรณนาถึงความสอดประสานในฉากแห่งธรรมชาติและชีวิตมนุษย์
. . . . . ในสมัยเมจิ (ค.ศ. 1868 – 1912) Shiki Masaoka ตั้งชื่อรูปแบบกวีนิพนธ์นี้ว่า ไฮขุ และมีการใช้ชื่อนี้นับแต่นั้นมา ใคร ๆ ก็สามารถแต่งโคลงไฮขุได้ค่อนข้างง่ายเนื่องจากรูปแบบคำประพันธ์สั้น ๆ ใช้เพียง 17 พยางค์ ซึ่งประกอบไปด้วยวรรคที่มี 7 พยางค์ กับ 5 พยางค์ จังหวะ 5, 7 พยางค์ ฟังไพเราะให้ความรู้สึกที่ดีกับคนญี่ปุ่น ในปัจจุบันมีชาวญี่ปุ่นที่นิยมแต่งไฮขุถึง 10 ล้านคน และชาวต่างประเทศที่รักการแต่งไฮขุก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
โจทย์ 500 N4 – N5 EP.5
สัปดาห์ที่ 1 วันที่ 5 (EP5.)
* เมื่อจบวันที่ 6 ให้จดบันทึก จำนวนข้อที่ตอบถูก
* ถ้าทำส่วนไหนได้น้อย ให้ลองทำใหม่อีกครั้ง แล้วค่อยเริ่มทำโจทย์วันที่ 7
* วันที่ 7 เป็นการทบทวนเมื่อทำเสร็จแล้ว ให้จดบันทึก จำนวนข้อที่ตอบถูกเพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้
ตัวอักษร ครั้งที่ 1 – 3 . . . . /30ข้อ (วันที่ 1 – 6) . . . . /12ข้อ (วันที่ 7 ทบทวน)
คำศัพท์ ครั้งที่ 1 – 3 . . . . /30ข้อ (วันที่ 1 – 6) . . . . /12ข้อ (วันที่ 7 ทบทวน)
ไวยากรณ์ ครั้งที่ 1 – 3 . . . . /30ข้อ (วันที่ 1 – 6) . . . . /12ข้อ (วันที่ 7 ทบทวน)
--------
โจทย์กับคำตอบจะแยกกันนะคะ
โจทย์ EP5. อ่านรายละเอียด
คำตอบโจทย์ EP5. อ่านรายละเอียด
โจทย์ 500 N4 – N5 ทุก EP. อ่านรายละเอียด
ภาษาญี่ปุ่นวันละ 20 คำ "อักษร ค"
เครา あごひげ『顎鬚』
เคราะห์ดี こううん『幸運』
เคราะห์ร้าย あくうん『悪運』
เครียด きんちょうする『緊張する』
.....เครื่อง (ลักษณนาม) …だい『…台』
เครื่องกระป๋อง かんづめ『缶詰』
เครื่องเขียน ぶんぼうぐ『文房具』
เครื่องครัว だいどころようぐ『台所用具』
เครื่องคิดเลข けいさんき『計算機』
เครื่องจักร きかい『機械』
--------------------------------------------------------------
เครื่องชั่งน้ำหนัก はかり、たいじゅうけい『量り、体重計』
เครื่องชูรส ちょうみりょう『調味料』
เครื่องซักผ้า せんたくき『洗濯機』
เครื่องดนตรี がっき『楽器』
เครื่องดื่ม のみもの、いんりょう『飲物、飲料』
เครื่องดูดฝุ่น(でんき)そうじき『(電気)掃除機』
เครื่องถ่ายเอกสาร コピーき、ふくしゃき『コピー機、複写機』
เครื่องทำความร้อน だんぼう『暖房』
เครื่องนุ่มห่ม いふく、いるい『衣服、衣類』
เครื่องบันทึกเสียง テープレコダー
漢字 ไม่ยากอย่างที่คิด
อักษรคันจิคำที่ 351 - 355
อักษรคันจิ คำที่ 351 息
ความหมาย : การหายใจ ลมหายใจ สูดลมหายใจ
คำอ่าน : ソク、いき
หมวดอักษร : 心หัวใจ
อักษรคันจิ คำที่ 352 速
ความหมาย : เร็ว ความเร็ว รวดเร็ว โดยพลัน ทันที เร่ง ด่วน ฉับพลัน ว่องไว ปราดเปรียว ประฉับกระเฉง
คำอ่าน : ソク、はやい、はやめる、はやまる
หมวดอักษร : 辶しんにょうนั่งเรือ, เดินทางไป
อักษรคันจิ คำที่ 353 族
ความหมาย : เผ่า เผ่าพันธุ์ ชาติพันธุ์ กลุ่มชน ชาว วงศ์ เครือ
คำอ่าน : ゾク
หมวดอักษร : 方จัตุรัส
อักษรคันจิ คำที่ 354 他
ความหมาย : อื่น ๆ อันอื่น อื่น ๆ อีก อีกอัน
คำอ่าน : タ、ほか
หมวดอักษร : イคน
อักษรคันจิ คำที่ 355 打
ความหมาย : ตี ตอก ทุบ เคาะ แตะ กด กระหน่ำ เฆี่ยน ชน กระแทก
คำอ่าน : ダ、うつ、うち
หมวดอักษร : 扌てへんมือ
อักษรคันจิคำที่ 356 - 360
อักษรคันจิ คำที่ 356 対
ความหมาย : ต่อต้าน ค้านกัน สะท้อน เผชิญหน้า เทียบกับ เทียบกัน เทียมกัน เสมอกัน ต้อนกัน ทัดทานกัน ตรงข้ามกัน เป็นคู่ เป็นหมู่
คำอ่าน : タイ
หมวดอักษร : 寸นิ้ว
อักษรคันจิ คำที่ 357 待
ความหมาย : คอย รอ รอคอย คาดหวัง
คำอ่าน : タイ、まつ
หมวดอักษร : 彳ぎょうにんへんคนคู่
อักษรคันจิ คำที่ 358 代
ความหมาย : ราคา ค่าธรรมเนียม ยุค ช่วงเวลา รุ่น สมัย แทนที่ ทดแทน เปลี่ยน ปล่อย วาง คราว
คำอ่าน : ダイ、タイ、かわる、かえる、よ、しろ
หมวดอักษร : 亻คน
อักษรคันจิ คำที่ 359 第
ความหมาย : ลำดับที่ อันดับที่
คำอ่าน : ダイ
หมวดอักษร : 竹ไผ่
อักษรคันจิ คำที่ 360 題
ความหมาย : หัวข้อ หัวเรื่อง กระทู้ นัยสำคัญ ปัญหา
คำอ่าน : ダイ
หมวดอักษร : 真おおがいหน้า, หนังสือ
漢字 ไม่ยากอย่างที่คิด อ่านรายละเอียด
เกร็ดความรู้ญี่ปุ่น “รวมขั้นตอนและมารยาทในการแช่ออนเซ็น”
. . . . .ใครที่เคยไปเที่ยวญี่ปุ่นคงทราบดีว่า "ออนเซ็น (Onsen)" เป็นหนึ่งในกิจกรรมยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยว เพราะนอกจากจะได้แช่ออนเซ็นเพื่อผ่อนคลายแล้ว แหล่งออนเซ็นแต่ละแห่งยังเป็นเมืองท่องเที่ยวที่สวยงามด้วยและในบทความนี้ก็จะขอแนะนำเกี่ยวกับมารยาทและขั้นตอนในการออนเซ็นเมื่อไปญี่ปุ่นมาฝากดังต่อไปนี้
ทำความรู้จักกับออนเซ็น (Onsen)
. . . . .ออนเซ็น (Onsen) คือบ่อน้ำพุร้อนธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นจากภูเขาไฟที่ยังไม่ดับทั่วประเทศญี่ปุ่น ชาวญี่ปุ่นมีความคุ้นเคยกับการอาบน้ำพุร้อนมาตั้งแต่สมัยโบราณซึ่งเปรียบเหมือนเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตอย่างหนึ่ง
. . . . .วัฒนธรรมการอาบน้ำแร่แช่ออนเซ็นในญี่ปุ่นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณและเป็นวิถีชีวิตอย่างหนึ่งของชาวญี่ปุ่นมาจนถึงทุกวันนี้ การแช่ออนเซ็นสามารถสร้างความผ่อนคลายและให้ความอบอุ่นในฤดูหนาว อีกทั้ง ยังมีส่วนช่วยทำให้สุขภาพให้ดีขึ้นจากแร่ธาตุต่างๆ ในน้ำพุร้อน ซึ่งมีคุณสมบัติแตกต่างกันไปจากส่วนประกอบของแร่ธาตุที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับที่ตั้งของน้ำพุร้อน
. . . . .อาทิ ออนเซ็นกำมะถัน (Sulphur) บ่อน้ำร้อนที่มีกำมะถันจะมีกลิ่นฉุนนิดหน่อย มีคุณสมบัติเรื่องบรรเทาอาการความดันโลหิตสูง โรคผิวหนังเรื้อรัง และอาการปวดข้อต่างๆ, ออนเซ็นคลอไรด์ (Chloride) มีคุณสมบัติในเรื่องทำให้ร่างกายอบอุ่น เหมาะกับผู้ที่มือเท้าเย็นบ่อยๆ เป็นต้น
. . . . .ปัจจุบัน เมืองออนเซ็นในญี่ปุ่นได้รับการพัฒนาและส่งเสริมให้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจได้ทุกฤดูกาลและมีหลากหลายทั้งน้ำพุร้อนทั่วไป บ่ออบทรายร้อน บ่อแช่เท้าและบ่อโคลน กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศญี่ปุ่น เช่น คุซัทสึออนเซ็น (Kusatsu Onsen) จังหวัดกุมมะ, กินซังออนเซ็น (Ginzan Onsen), จังหวัดยามากาตะ, เบปปุ ออนเซ็น (Beppu Onsen) จังหวัดโออิตะ
มารยาทในการแช่ออนเซ็น
. . . . .สถานที่สำหรับแช่ออนเซ็นในญี่ปุ่นมีทั้งแบบส่วนตัวและบริการแบบรวม ดังนั้นในการใช้ออนเซ็นบ่อรวมจึงควรทราบถึงมารยาทพื้นฐานโดยคำนึงถึงการใช้สถานที่ร่วมกับผู้อื่น ได้แก่
-
การลงบ่อออนเซ็นจะไม่มีการสวมเสื้อผ้าหรือเครื่องนุ่งห่มใดๆ ลงบ่อ ไม่ว่าจะเป็นออนเซ็นแบบส่วนตัวหรือออนเซ็นรวม โดยทั่วไปจะมีตู้ล็อกเกอร์บริการในห้องอาบน้ำสำหรับเก็บของทุกอย่างไว้ก่อนลงบ่อ
-
ก่อนลงบ่อออนเซ็น จะมีจุดให้บริการห้องอาบน้ำควรชำระล้างร่างกายให้สะอาดก่อนลงบ่อด้วย
-
ใครที่ไว้ผมยาวตามมารยาทต้องรวบผมไว้ไม่ให้ผมแช่ลงไปในบ่อ ทางที่ดีควรสระผมก่อนลงบ่อก็จะดีมาก
-
หากมีผ้าขนหนูผืนเล็กๆ ไปด้วยให้วางบนศีรษะและระมัดระวังไม่นำลงไปในน้ำ
-
ผู้ที่มีรอยสักจะไม่ได้รับอนุญาตให้ลงบ่อออนเซ็น (ยกเว้นบางแห่งที่อนุญาต)
-
ระหว่างแช่น้ำ ไม่ควรปรับลดระดับความร้อนของน้ำโดยพละการ
-
ไม่พูดคุยส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น ไม่กระโดดลงบ่อ และไม่ว่ายน้ำหรือสาดน้ำ
-
ห้ามถูตัวเป็นอันขาด เพราะเป็นการใช้บ่อร่วมกับผู้อื่นซึ่งต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มากๆ อีกทั้งยังอาจทำให้สิ่งสกปรกร่วงลงไปในบ่อด้วย
-
ห้ามถ่ายรูปในบริเวณบ่อออนเซ็น โดยเฉพาะในบ่อรวมตอนกำลังลงแช่ในบ่อ แม้ว่าหลายๆ แห่งจะมีบรรยากาศหรือทิวทัศน์ที่สวยงาม อย่างไรก็ตามเรียวกังหรือสถานที่บางแห่งจะมีการอนุญาตให้ถ่ายภาพได้เฉพาะบางจุด
-
หลังจากแช่เสร็จแล้วต้องเช็ดตัวให้แห้งก่อนกลับไปตู้ล็อกเกอร์
ขั้นตอนการแช่ออนเซ็น
-
ก่อนลงไปแช่ประมาณ 15- 30 นาที ให้ดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของเกลือแร่หรือวิตามินซี เพื่อเตรียมร่างกายให้พร้อมรับอุณหภูมิความร้อนและการสูญเสียเหงื่อ
-
ชำระร่างกายด้วยการอาบน้ำ แล้วล้างตัวให้สะอาดก่อนลงแช่ออนเซ็น ซึ่งส่วนใหญ่มีอุณหภูมิประมาณ 39-42 องศาเซลเซียส หากลงไปแช่ทันทีในขณะที่อุณหภูมิสูงขนาดนี้อาจจะรู้สึกว่าร้อนเกินไปเนื่องจากอุณหภูมิร่างกายเย็นกว่า ดังนั้นควรปรับอุณหภูมิด้วยการราดน้ำอุ่นก่อนลงแช่ เริ่มจากมือ เท้า แขน ขา ตัว และศีรษะตามลำดับ
-
ลงแช่ครึ่งตัวอย่างช้าๆ ก่อนในครั้งแรกเพื่อให้ร่างกายชินกับอุณหภูมิ จากนั้นเมื่อร่างกายเริ่มชินก็ค่อยๆ เลื่อนมาถึงระดับไหล่ เมื่อแช่เสร็จแล้วควรเช็ดตัวให้แห้งก่อนเข้าห้องแต่งตัว เพื่อไม่ให้ห้องแต่งตัวเปียกและควรจะดื่มน้ำสัก 1 แก้ว เพื่อไม่ให้ร่างกายอ่อนล้าจากการสูญเสียเหงื่อ
-
ถ้าเป็นเรียวกังหรือเมืองออนเซ็นที่บ่อน้ำพุร้อนตั้งอยู่แบบเปิดโล่งกลางธรรมชาติ และมีคุณสมบัติของแร่ธาตุที่ทำให้มีกลิ่น เช่น กำมะถัน เมื่อแช่น้ำเสร็จแล้วต้องล้างตัวด้วยน้ำประปาสะอาดอีกครั้งแล้วเช็ดตัวให้แห้งก่อนกลับไปที่ห้องล็อกเกอร์
ข้อควรระวังในการแช่ออนเซ็น
-
การแช่แต่ละครั้งไม่ควรแช่นานเกินไป เพราะออนเซ็นของญี่ปุ่นมีอุณหภูมิที่สูงและมีส่วนผสมแร่ธาตุมากมาย ดังนั้นจึงควรแช่ในระยะเวลาที่พอดี โดยทั่วไปคือไม่เกินครั้งละ 20 นาที
-
ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งก่อนหนึ่งหลังแช่ออนเซ็น เพราะค่อนข้างอันตรายต่อการปรับอุณหภูมิของร่สงกาย หากต้องการดื่มจริงๆ ให้เว้นระยะหลังจากแช่ออนเซ็นไปแล้วประมาณ 1-2 ชั่วโมง
-
ไม่ควรอาบน้ำทันทีเพราะร่างกายอาจปรับอุณหภูมิไม่ทัน และเกิดอาการหน้ามืด เป็นลมได้ ควรพักสักครู่ให้แร่ธาตุต่างๆ เข้าสู่ผิวก่อน แล้วจึงอาบน้ำ
-
ไม่ควรแช่บ่อออนเซ็นมากกว่าวันละ 3 ครั้ง เพราะอาจจะทำให้เกิดอาการวิงเวียนและอาจทำให้เป็นลมได้
วิธีสวมชุดยูกาตะ (Yukata)
. . . . .ปกติแล้วสถานที่พักในแหล่งออนเซ็นไม่ว่าจะเป็นโรงแรมหรือเรียวกัง จะมีชุดยูกาตะ (Yukata) เตรียมไว้ให้กับแขกผู้เข้าพักด้วย ซึ่งชุดยูกาตะดังกล่าวนี้จะเป็นเหมือนชุดนอนมากกว่าชุดที่ใส่เดินตามงานเทศกาล แต่ถึงอย่างนั้นในเมืองออนเซ็นต่างๆ ก็มักจะเห็นผู้คนสวมชุดยูกาตะออกมาเดินเล่นกันตามปกติ และครั้งนี้ก็จะแนะนำวิธีสวมชุดยูกาตะ โดยมีขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้
-
สวมชุดยูกาตะให้ชายของชุดอยู่บริเวณตาตุ่ม หากกลางชุดมีเส้นรอยเย็บ รอยนั้นควรอยู่กลางหลังพอดี
-
พาดชุดด้านขวาเข้าหาตัว ละตามด้วยข้างซ้าย หรือพูดง่ายๆ คือซ้ายทับขวาและห้ามสวมแบบขวาทับซ้ายเป็นอันขาด เพราะในญี่ปุ่นคือการสวมชุดให้กับผู้เสียชีวิต
-
นำสายโอบิที่ให้มากับชุดมาผูกทับ ส่วนใหญ่ผู้ชายจะผู้ไว้บริเวณใต้เอว ส่วนผู้หญิงก็ผูกไว้ตรงเอวพอดี การผูกโอบิไม่มีรูปแบบกตายตัวเป็นพิเศษ ควรผูกให้รู้สึกสบาย ไม่แน่นหรือหลวมเกินไป
-
นอกจากนี้ยังมีเสื้อตัวนอกสำหรับสวมทับหรือเรียกว่า "ฮาโอริ (Haori)" หากรู้สึกหนาวก็สามารถสวมทับชุดยูกาตะได้
. . . . .นอกจากนี้ควรระวังคอเสื้อทั้งหญิงและชายควรให้ทับกันพอดี ไม่มีช่องว่างเพื่อให้ดูเรียบร้อย รวมถึงทรงผมของผู้หญิงหากไว้ผมยาวถ้ารวมผมหรือเกล้าผมจะเหมาะกับชุดมากกว่าปล่อยผม
อาหารประจำสัปดาห์
ใคร ๆ ก็เข้าครัวไปกับ I’m JAVDEE วันนี้คือ
ชีสสด (I am Jadee)
ชีสสดโฮมเมด 2 ส่วนผสม
1.นมจืด 2 ลิตร
2.มะนาว 5 ชต
(เกลือเป็น optionเสริมค่ะ ถ้าชอบเค็มๆนิดๆใส่เติมได้เลยค่ะ)
วิธีทำ
ดูตามคลิปเลยน้าคะ
------------------------------------------------
ติดตาม จาดี ได้ที่
(มีอะไรสอบถาม หรือพูดคุยกับจาดี ได้ทางเฟสบุ๊คนะคะ)
Facebook : https://www.facebook.com/littlesweet.bakery
Instagram : https://www.instagram.com/jadee_little_sweet/
Youtube Little sweet Little channel :
https://www.youtube.com/c/LittleSweetLittleChannel
เคดิต ขอขอบคุณ Little Sweet / Little Channel (I’am จาดี)
















