

นิตรสาร さくら ฉบับที่ 6

นิตยสาร さくらStyle
วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2564
สวัสดีพี่น้องชาวไทย ยินดีที่ได้รู้จักกับนิตยสาร さくらStyle วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2564 ฉบับที่ 6
นิตยสารฉบับที่ 6 นี้ เราจะพาไปดู
* ことわざ慣用句 สุภาษิต สำนวน EP.5
* Mind Map ศัพท์ญี่ปุ่น คณิตศาสตร์ จำนวน และตัวเลข
* ตะลุยไวยากรณ์และคำศัพท์ EP.4 “~がする”
* สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่น EP.3 Cha-no-yu (พิธีชงชา)
* โจทย์ 500 N4 – N5 EP.2
* ภาษาญี่ปุ่นวันละ 20 คำ "อักษร ค"
* 漢字 ไม่ยากอย่างที่คิด 321 – 330
* เกร็ดความรู้ญี่ปุ่น “5 เทคนิคทำงานกับคนญี่ปุ่นอย่างสงบสุข”
* ใคร ๆ ก็เข้าครัวไปกับ I’m JAVDEE “ฟรุตเค้ก”
ことわざ慣用句 สุภาษิต สำนวน Ep.4 口車に乗せられる (ให้ขึ้นรถลมปาก)
{ความหมาย}
ถูกหลอก, หลงเชื่อลมปากของคนที่พูดเก่ง ๆ , หลงคารม เป็นการเปรียบเทียบว่า ฟังเพลินจนหลงเชื่อเหมือนให้ขึ้น “รถ” เพลิน ๆ
Mind Map ศัพท์ญี่ปุ่น ตอนที่ 3 คณิตศาสตร์ จำนวน และตัวเลข
การเรียนรู้เรื่องจำนวนและตัวเลขนั้น ถือได้ว่าเป็นเรื่องพื้นฐานที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง และมีประโยชน์ต่อการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็น การคำนวณทางคณิตศาสตร์ การบอกปริมาณ หน่วยวัดและมาตราต่าง ๆ การบอกวัน – เดือน – ปี การบอกเวลา และการบอกราคา เป็นต้น ดังนั้นในบทนี้จะอธิบานถึงคำศัพท์ที่ใช้ในทางคณิตศาสตร์ จำนวนและตัวเลข และการคำนวณในเบื้องต้น เพื่อการใช้งานในชีวิตประจำวัน
เรื่องน่ารู้!!
算盤(Soroban) หมายถึง “ลูกคิด” เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ในการคำนวณตัวเลขในสมัยก่อน โดยการนำลูกคิดมาร้อยอยู่ในกรอบบนเส้นลวด สำหรับวิธีการคำนวณนั้น จะใช้มือข้างหนึ่งถือและใช้นิ้วมืออีกข้างหนึ่งดีดลูกคิดเพื่อคำนวณ บวก ลบ คูณ หาร ตัวเลขในเบื้องต้นประเทศญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลการใช้ลูกคิดมากจากประเทศจีน ในช่วงศตวรรษที่ 13 ในสมัยเอโดะ หลังจากนั้นเครื่องคิดเลขจึงได้ต่อย ๆ ถูกนำเข้ามาใช้แทนลูกคิด
ตะลุยไวยากรณ์และคำศัพท์
สำหรับสอบวัดระดับ ภาษาญี่ปุ่น N4
ตะลุยไวยากรณ์และคำศัพท์ ตอน ~がする
ใช้แสดงสิ่งที่รับรู้ได้จากประสาทสัมผัส ในลักษณะที่ว่า ได้ยิน ได้กลิ่น หรือ สัมผัสได้ถึงรสชาตินั้น ๆ โดยสามารถรับรู้ได้จากอวัยวะรับความรู้สึกต่าง ๆ มักใช้ต่อหลังคำว่า 臭い (nioi), 音(oto), 感じ(kanji), 味(aji), 声(koe), 気(ki), 香り(kaori) เป็นต้น
สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่น (ฉบับทำใหม่) Ep.3 Cha-no-yu (พิธีชงชา)
茶の湯は、日本の伝統的な抹茶の作法です。抹茶は抹茶茶碗に入れ,湯を注ぎ,茶筅でかきまぜ,ふつう泡立てて飲みます。床の間に四季折々の掛軸や生(い)け花* ななどが飾(かざ)られた閑静(かんせい)な茶室で,美しい庭園を愛でつつ茶の湯を楽しむ人々の姿は,優雅で日本情緒そのものです。茶の湯にはいへん深い意味があり,茶の作法ばかりでなく,禅の心,わび,合理性,人への思いやりなど,多くの要素を含んでいます。そわは,いわば人生(じんせい)に対(たい)する構(かま)えとも言(い)え,茶の湯を通して私たちはその精神を体得し,日帶生活に生かすことができます。日本では,嗜みのーっとして「生け花」と同じように,伝統的な茶の湯を習う女性が多くいます。
เป็นพิธีการดื่มมัทฉะ (matchi = ชาเขียวป่น) แบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น เริ่มด้วยการใส่มัทฉะลงใน ฉะวัง (chawan = ถ้วยชาสำหรับดื่มมัทฉะ) รินน้ำร้อนใส่ คนจนเป็นฟองด้วยฉะเซ็น (chasen = ไม้คนชาทำด้วยไม้ไผ่) จากนั้นก็ดื่มได้ เราจะรู้สึกถึงบรรยากาศที่อ่อนช้อยงดงามตามแบบฉบับของญี่ปุ่นเมื่อได้เห็นพวกเขาเพลิดเพลินกับพิธีชงชาในห้องน้ำชาที่เงียบสงบ ซึ่งประดับภาพแขวนหรือแจกันดอกไม้ที่ตกแต่งตามฤดูกาล ฯลฯ ที่โทะโคะโนะมะ (tokonoma = มุมประดับในห้องรับแขก) ขณะชื่นชมสวนญี่ปุ่นอันสวยงาม พิธีชงชาแฝงไว้ด้วยความหมายอันลึกซึ้ง มีองค์ประกอบต่าง ๆ มากมาย ไม่เฉพาะแต่กิริยามารยาทในการดื่มชาแต่ยังรวมถึงจิตวิญญาณแห่งเซ็น (zen = ศาสนาพุทธนิกายเซน) วะบิ (wabi = ความเงียบอย่างราบเรียบ) ความมีเหตุมีผล การคำนึงถึงผู้อื่น ซึ่งล้วนเป็นทัศนคติที่มีต่อชีวิตทั้งสิ้น เราสามารถเข้าถึงจิตวิญญาณแห่งพิธีชงชาได้โดยการฝึกหัดพิธีชงน้ำชาแล้วนำมาใช้กับชีวิตประจำวันของเรา ที่ประเทศญี่ปุ่น สตรีจำนวนมากเรียนรู้พิธีชงชาแบบดั้งเดิมเช่นเดียวกับเรียนรู้การจัดดอกไม้โดยถือเป็นส่วนหนึ่งของความสุนทรีของสตรี
โจทย์ 500 N4 – N5 EP.1
สัปดาห์ที่ 1 วันที่ 2 (EP2.)
* เมื่อจบวันที่ 6 ให้จดบันทึก จำนวนข้อที่ตอบถูก
* ถ้าทำส่วนไหนได้น้อย ให้ลองทำใหม่อีกครั้ง แล้วค่อยเริ่มทำโจทย์วันที่ 7
* วันที่ 7 เป็นการทบทวนเมื่อทำเสร็จแล้ว ให้จดบันทึก จำนวนข้อที่ตอบถูกเพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้
ตัวอักษร ครั้งที่ 1 – 3 . . . . /30ข้อ (วันที่ 1 – 6) . . . . /12ข้อ (วันที่ 7 ทบทวน)
คำศัพท์ ครั้งที่ 1 – 3 . . . . /30ข้อ (วันที่ 1 – 6) . . . . /12ข้อ (วันที่ 7 ทบทวน)
ไวยากรณ์ ครั้งที่ 1 – 3 . . . . /30ข้อ (วันที่ 1 – 6) . . . . /12ข้อ (วันที่ 7 ทบทวน)
--------
โจทย์กับคำตอบจะแยกกันนะคะ
โจทย์ EP1. อ่านรายละเอียด
คำตอบโจทย์ EP1. อ่านรายละเอียด
โจทย์ 500 N4 – N5 ทุก EP. อ่านรายละเอียด
ภาษาญี่ปุ่นวันละ 20 คำ "อักษร ค"
คำสั่ง めいれい『命令』meirei
คำสุภาพ ていねいご『丁寧語』 teineigo
คำอวยพร しゅくじ『祝辞』syukuji
คำอุทาน かんたんし『感嘆詞』kantanshi
ค่ำ ゆうがた、よる、ばん『夕方、夜、晩』yuugata, yoru, ban
ค้ำ ささえる『支える』sasaeru
ค้ำประกัน ほしょうする『保障する』hosyousuru
คำนวณ けいさんする『計算する』keisansuru
คำนับ おじぎをする『お辞儀をする』ojigi o suru
คิด おもう、かんがえる『思う、考える』omou, kangaeru
--------------------------------------------------------------
คิดถึง こいしくおもう『恋しく思う』koishikuomou
คิดถึงบ้าน ホームシックにかかる boomushikku nikkaru
คิดออก かんがえつく『考えつく』kangaetsuku
คิ้ว まゆ『眉』 mayu
คี่ (เลข) きすう『奇数』masuu
คีบはさむ、つまむ 『挟む、つまむ』hasamu, tsumamu
คึกคัก にぎやか(な)『賑やか(な)』nigitaka (na)
คืน (ให้)(ก.) かえす、へんきゃくする『返す、返却する』kaesu, henkyakusuru
คืนยังรุ่ง ひとばんじゅう『一晩中』hitobanjuu
คืนนี้ こんや、こんばん『今夜、今晩』konya, konban
漢字 ไม่ยากอย่างที่คิด
อักษรคันจิคำที่ 321 - 325
อักษรคันจิ คำที่ 321 拾
ความหมาย : เก็บของตก หยิบขึ้นมา เลือกสรร แวะรับ
คำอ่าน : シュウ、ひろう
หมวดอักษร : 扌てへんมือ
อักษรคันจิ คำที่ 322 終
ความหมาย : จบ หมด เสร็จสิ้น อวสาน ตลอด เลิก เสร็จงาน จบชีวิต สิ้นสุดลง ยุติ จบบริบูรณ์ ปลาย
คำอ่าน : シュウ、おわる、おえる
หมวดอักษร : 糹ด้าย ไหม
อักษรคันจิ คำที่ 323 習
ความหมาย : เรียน ฝึกฝน ธรรมเนียม เรียนจากผู้อื่น เรียนโดยทำตามอย่าง
คำอ่าน : シュウ、ならう、ならわし
หมวดอักษร : 羽 ปีก ขนนก
อักษรคันจิ คำที่ 324 集
ความหมาย : รวบรวม การรวมกัน สะสม การชุมนุม การรวมตัวกัน จำนวนที่มารวมกัน กลุ่ม รวมพล
คำอ่าน : シュウ、あつまる、あつめる、つどい、つどう
หมวดอักษร : 隹ふるとりนกเขา
อักษรคันจิ คำที่ 325 住
ความหมาย : อาศัยอยู่ อยู่อาศัย ที่อยู่
คำอ่าน : じゅう、すむ、すまい、すまう
หมวดอักษร : 亻คน
อักษรคันจิคำที่ 326 - 330
อักษรคันจิ คำที่ 326 重
ความหมาย : หนัก มั่นคง ซ้อน สำคัญ ทบ ชั้น ร้ายแรง สาหัส ถือเป็นสิ่งสำคัญ ซ้อนกัน ซ้ำสอง วางซ้อน ทำซ้ำ
คำอ่าน : ジュウ、シュウ、あもい、え、かさねる、かさなる
หมวดอักษร : 里 ลี้ หมู่บ้าน
อักษรคันจิ คำที่ 327 宿
ความหมาย : ที่พัก ค้างแรม โรงเตี้ยม ตั้ง ให้ที่พักพิง
คำอ่าน : シュク
หมวดอักษร : 宀うかんむりหลังคา
อักษรคันจิ คำที่ 328 所
ความหมาย : สถานที่ ที่อยู่ ที่ตั้ง ที่นั่ง แห่งหน ที่ตั้งทางไปรษณีย์ ห้อง พื้นที่ส่วนหนึ่ง
คำอ่าน : ショ、ところ
หมวดอักษร : 戸ประตูบานเดี่ยว
อักษรคันจิ คำที่ 329 暑
ความหมาย : ร้อน ความร้อน รู้สึกร้อน อบอ้าว
คำอ่าน : ショ、あつい、あつかる
หมวดอักษร : 日ตะวัน
อักษรคันจิ คำที่ 330 助
ความหมาย : ช่วย บรรเทา ความช่วยเหลือ รอดพ้นทุกข์ ช่วยให้พ้นภัย บรรเทาความเดือดร้อน
คำอ่าน : ジョ、すけ、たすける、たすかる
หมวดอักษร : 力กำลัง
漢字 ไม่ยากอย่างที่คิด อ่านรายละเอียด
เกร็ดความรู้ญี่ปุ่น “5 เทคนิคทำงานกับคนญี่ปุ่นอย่างสงบสุข”
คนที่ทำงานบริษัทญี่ปุ่นหรือมีโอกาสทำงานกับคนญี่ปุ่นมักจะประสบปัญหาเรื่องวัฒนธรรมที่แตกต่างอยู่บ่อยๆ บางครั้งการกระทำของเราอาจทำให้อีกฝ่ายกลับคิดมากหรือทำให้เกิดความระหองระแหงจนอาจทำให้มีปัญหาไม่สามารถทำงานด้วยกันต่อไปได้ ดังนั้น หากเราทราบถึง5อย่างที่ไม่ควรทำแล้วล่ะก็จะช่วยป้องกันความเข้าใจผิดได้ค่ะ
5 อย่างที่ "ไม่ควร" ทำเมื่อทำงานกับคนญี่ปุ่น
มารยาทพื้นฐานทั่วไปนั้นก็เหมือนกันเกือบทุกประเทศค่ะ ไม่ว่าจะเป็นการเคารพผู้ใหญ่ ไม่มาสาย แต่งกายสุภาพ แต่วันนี้เราจะมาพูดถึง 5 สิ่ง ที่คนไทยมักเผลอทำในเวลางานเพราะไม่ได้ร้ายแรงอะไร แต่คนญี่ปุ่นไม่ชอบเลย
1.ไม่ขี้นินทา
นอกจากคนไทยแล้ว คนญี่ปุ่นก็ชอบเรื่องซุบซิบเหมือนกันนะจ้ะ ถึงแม้ว่าการพูดคุยและทำความรู้จักกับเพื่อนร่วมงานนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ถ้าหากหัวข้อการสนทนานั้นเป็นเรื่องของ"เพื่อนร่วมงานคนอื่น"นั้นก็มีความเสี่ยงอันตรายสูงเหมือนกันค่ะ เพราะถึงแม้ว่าจะเป็นการพูดถึงเฉยๆโดยไม่ได้มีเจตนาร้าย แต่อีกฝ่ายอาจนำไปเล่าต่อในทางที่เสียหายได้ (แล้วบอกว่าได้ข่าวมาจากเรา กลายเป็นเราคนปล่อยข่าว ซวยเลยนะจ้ะ)
หรือบางข้อมูลที่อีกฝ่ายต้องการปิดเป็นความลับแต่เรากลับไปบอกคนอื่นต่อโดยไม่คิดมาก อันนี้ก็มีโอกาสโดนโกรธสูงค่ะ (ยกตัวอย่างเช่น ไปเล่าว่า Aจังมีแฟนแล้ว พึ่งเลิกกับแฟน พึ่งย้ายบ้าน ฯลฯ ทุกเรื่องที่เป็นเรื่องส่วนตัว) คนไทยอาจมองว่าเรื่องพวกนี้ก็เป็นเรื่องทั่วไป เล่าได้คุยได้ ไม่เห็นจะต้องปิดบังเลย แต่อย่าลืมนะคะว่าคนญี่ปุ่นค่อนข้างระมัดระวังที่จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวให้กับผู้อื่นได้ทราบง่ายๆ ถ้าเขาอยากจะเล่าให้คนอื่นฟังเขาจะเป็นคนเล่าด้วยตัวเองโดยไม่ต้องรบกวนให้เราไปกระจายข่าวให้ค่ะ ถ้าเกิดเผลอพลาดหลุดปากเม้ามอยไปหนึ่งครั้ง เขาอาจมองว่าเราเป็นคนเก็บความลับไม่ได้ ไม่ไว้ใจเราและไม่เล่าเรื่องต่างๆเกี่ยวกับตัวเองให้เราฟังอีกเลยนะคะ (อันนี้ก็เเล้วแต่บุคคลจ้า)
นอกจากนี้ ด้วยความที่เราเป็นชาวต่างชาติไม่ได้พูดภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาหลัก การสื่อของเรานั้นอาจไม่ได้คล่องแคล่วและแม่นยำตรงตามที่คิดได้100% จึงมีโอกาสที่คู่สนทนาของเราจะตีความสิ่งที่เราต้องการจะสื่อไปในทางที่ผิดได้ ดังนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าว ให้คิดก่อนพูดเยอะๆ หรือไม่พูดนินทาเพื่อนร่วมงานไปเลยจะดีกว่านะคะ
2.ไม่อวดรู้มากเกินไป
เชื่อว่าคนไทยหลายๆคนนั้นอยากเผยแพร่วัฒนธรรมไทยและแนวคิดต่างๆของคนไทยให้กับเพื่อนร่วมงานญี่ปุ่นทราบ อันนี้สามารถทำได้ค่ะ แต่ต้องอยู่ในขอบเขตที่พอดี โดยเฉพาะคนที่ทำงานอยู่ท่ามกลางคนญี่ปุ่นควรจะยึดวัฒนธรรมการทำงานของญี่ปุ่นเป็นหลัก เพราะเป็นสิ่งที่"คนหมู่มาก"ตกลงว่าจะทำร่วมกันเพื่อให้ทำงานกันได้อย่างราบรื่น เราไม่ควรนำนิสัยการทำงานที่ไทยมาใช้เพียงเพราะว่าเราเป็นคนไทย เช่น เข้างานตอนสิบโมงเป้ะ (ถ้าทำงานสไตล์ญี่ปุ่นคือต้องมาก่อนล่วงหน้าห้าหรือสิบนาที) หรือกินขนมในเวลาทำงาน (บางบริษัทซีเรียสเรื่องนี้มากค่ะ ให้ทานเฉพาะได้เวลาพักเท่านั้น)
เพราะอย่างตัวผู้เขียนเองก็เคยเจอเพื่อนร่วมงานต่างชาติที่ยึดความคิดของตัวเองเป็นหลักโดยไม่ฟังใครเลย บอกให้เพื่อนร่วมงานคนอื่นปรับตัวเข้าหาเธอเพราะว่าประเทศของเธอนั้นทำอย่างนี้เป็นเรื่องปกติ ดังนั้นก็ต้องทำตามที่เธอต้องการ แต่เธออาจลืมไปว่าบริษัทที่เธอทำงานอยู่นั้นเป็นบริษัทญี่ปุ่นที่มีสไตล์การทำงานแบบญี่ปุ่นจ๋ามาก จนสุดท้ายเพื่อนต่างชาติคนนั้นก็โดนเชิญออกจากงานไปค่ะ
นอกจากนี้ การที่เรามีความรู้เกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งและต้องการออกความเห็นเพิ่มเติม ผู้เขียนขอแนะนำให้ดูบรรยากาศโดยรวมก่อนที่จะพูดออกไปนะคะ เพราะวัฒนธรรมการทำงานของแต่ละบริษัทนั้นไม่เหมือนกัน การออกความเห็นในบริษัทญี่ปุ่นนั้นอาจไม่ได้"อิสระ"เหมือนกับที่ไทย และถึงเเม้ว่าจะออกความเห็นไปก็ไม่ได้หมายความว่าหัวหน้าจะเก็บเอาไปทำจริง โดยเฉพาะเด็กใหม่ที่พึ่งเข้าทำงานที่บริษัทหรือย้ายงานมาหมาดๆต้องระวังเป็นพิเศษ พยายามหงิมๆเงียบๆไว้ก่อนจะดีที่สุดค่ะ ออกหน้ามากเกินไปอาจโดนมองว่าอวดรู้และโดนหมันใส้ได้ ทางที่ดีควรรอให้หัวหน้าหรือรุ่นพี่เป็นคนถามเราก่อนว่า มีไอเดียหรือความเห็นอะไรเพิ่มเติมไหม (ปล. อันนี้ก็เเล้วเเต่บริษัทนะคะ บางที่ก็ยอมให้ปล่อยของได้เเบบไม่กั๊กเลย ถ้าชอบแบบนี้ก็ต้องเลือกที่ทำงานนิดนึงค่ะ)
3. ไม่ยิ้มพร่ำเพรื่อ
ถึงแม้ว่าประเทศไทยและคนไทยจะขึ้นชื่อเรื่องมีรอยยิ้มที่สวยและเป็นมิตร แต่การยิ้มบ่อย ยิ้มโดยไม่ถูกกาละเทศะก็อาจทำให้เกิดปัญหาในการทำงานกับคนญี่ปุ่นได้ค่ะ ยกตัวอย่างเช่นตอนที่หัวหน้าตำหนิหรือกำลังดุเรา หากเรายิ้มให้เขาอาจคิดว่าเราไม่สำนึก ไม่เข้าใจ หรือในกรณีที่เราอยากขอโทษเพื่อนร่วมงาน หากเราขอโทษไปพร้อมกับหัวเราะแหะๆหรือยิ้ม อีกฝ่ายจะคิดว่าเราไม่ได้จริงใจ และไม่ได้รู้สึกผิดจริงๆได้ค่ะ
อย่างตัวผู้เขียนเองช่วงที่มาทำงานที่ญี่ปุ่นปีแรกๆ ก็เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับปัญหาคนญี่ปุ่นเข้าใจความหมายของ"รอยยิ้ม"ที่ผู้เขียนมอบให้แบบผิดบ่อยๆค่ะ เวลาเผลอสบตาใครก็จะยิ้มให้ทุกที(แบบไม่คำนึงถึงสภาวะรอบข้างที่ทุกคนกำลังซีเรียส) จนโดนดุเลยค่ะ จนเข้าใจได้ว่าหากเป็นคนไทยด้วยกันนั้นก็อาจเข้าใจว่ายิ้มของคนไทยด้วยกันเองนั้นมีหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นยิ้มเขิน ยิ้มทักทาย ยิ้มแห้ง ยิ้มเป็นมารยาท ยิ้มให้กำลังใจ ฯลฯ แต่ชาวต่างชาตินั้นไม่เข้าใจความหมายเนื่องจากวัฒนธรรมของเขานั้นไม่ได้ใช้รอยยิ้มในการสื่อสารอารมณ์เท่ากับบ้านเรานักค่ะ (ส่วนใหญ่จะเป็นคำพูด เช่น ไฟท์โตะ สู้ๆนะ หรือเก็บสีหน้าและอารมณ์ไม่ให้อีกฝ่ายอ่านได้อย่างนี้ซะมากกว่า) ดังนั้นควรระวังสีหน้าและการแสดงออกเวลาทำงานด้วยนะคะ
4.ไม่ใกล้ชิดกับเพศตรงข้ามมากจนเกินพอดี
ที่ญี่ปุ่นไม่ได้มีวัฒนธรรมใกล้ชิดตัวแบบตะวันตกหรือบ้านเราค่ะ ดังนั้นการแตะเนื้อต้องตัวกันโดยไม่จำเป็นทั้งเพศเดียวกันหรือเพศตรงข้ามนั้นก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ เพราะนอกจากจะทำให้อีกฝ่ายรู้สึกอึดอัดแล้ว ยังอาจถูกมองว่าเป็นการล่วงละเมิดทางเพศได้อีกด้วย (ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่มากในบริษัทญี่ปุ่น) ไม่ว่าจะสนิทกันแค่ไหนก็ตามก็ต้องระวังนะคะ ถ้าถูกเพื่อนร่วมงานไปฟ้องว่าเราล่วงละเมิดทางเพศเขาล่ะก็มีสิทธิ์โดนไล่ออกจากงานสูงมากค่ะ
นอกจากการกระทำแล้ว เราก็ควรระวังคำพูดเช่นกันค่ะ อย่างตัวผู้เขียนเองก็เคยโดนเพื่อนร่วมงานพูดล้อเล่นใส่ อีกฝ่ายอาจไม่คิดอะไรมาก แต่ผู้เขียนรู้สึกไม่ชอบและอึดอัดมากค่ะ เพราะเขามาวิจารณ์กระโปรงที่ใส่มาวันนี้ว่าสวยเข้ารูปดีนะ แถมถามว่าวันนี้ไปเดทหรอ แล้วจบด้วยการพูดว่า"ถ้าผมหนีภรรยาออกไปได้ผมก็อยากออกเดทกับคุณสักครั้งนะเนี่ย" ถึงแม้จะเป็นการล้อเล่น แต่ผู้เขียนก็ไม่แน่ใจว่าล้อเล่น100% หรือพูดลองเชิงกันแน่ค่ะ หากผู้อื่นมาได้ยินอาจเข้าใจผิดว่าเรามีความสัมพันธ์เชิงชู้สาวกับอีกฝ่ายได้ ซึ่งข่าวลือเหล่านี้กระทบกับหน้าที่การงานและความสัมพันธ์กับคนรอบข้างอย่างแน่นอนค่ะ
นอกจากนี้ การดื่มสังสรรค์ในที่ทำงานก็เป็นที่ที่ควรระวังอย่างยิ่ง ไม่ควรนั่งใกล้ชิดกับเพศตรงข้ามกันมากเกินไป ไม่แตะเนื้อต้องตัวหรือดูแลใครเป็นพิเศษ (เพราะอาจโดนเข้าใจผิดว่าเราสนใจในตัวอีกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นเชิงชู้สาวหรือประจบสอพลอเจ้านายจนเกินพอดี เพื่อนร่วมงานอาจเอาไปนินทาได้)
5. ไม่ก้าวก่ายเรื่องส่วนตัว
ข้อนี้สำคัญมากๆค่ะ วัฒนธรรมการทำงานของญี่ปุ่นนั้นจะแตกต่างจากไทยเป็นอย่างมากในเรื่องการแยกแยะเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัว ที่ไทยเราอาจได้มิตรภาพใหม่ๆจากการทำงาน อาจได้ไปเที่ยวและออกทริปกับเพื่อนร่วมงานจนสนิทกันถึงขั้นเล่าเรื่องชีวิตส่วนตัวให้ฟังตั้งแต่เด็กยันโต แต่ที่ญี่ปุ่นขอบอกเลยว่า น้อยมากๆค่ะ เพราะเพื่อนร่วมงานนั้นถือว่าไม่ใช่เพื่อนในชีวิตจริง แต่เป็นเพียงคนทำงานร่วมกัน ยิ่งอีกฝ่ายรู้เรื่องของตัวเองมากเท่าไหร่ก็เท่ากับเปิดจุดอ่อนให้อีกฝ่ายรู้มากเท่านั้นค่ะ (สำคัญสำหรับคนที่มีเป้าหมายว่าอยากเลื่อนขั้นเลยนะคะ ระวังโดนหั่นขาเก้าอี้น้า) คนญี่ปุ่นส่วนใหญ่จะไม่เล่าเรื่องตัวเองให้คนที่ไม่สนิทฟัง และจะรู้สึกไม่ค่อยชอบเวลาที่มีคนมาถามเรื่องส่วนตัวมากเกินไป ดังนั้นรอสนิทไปสักพักก่อนค่อยตะล่อมถามหรือรออีกฝ่ายเล่าให้ฟังเองจะดีกว่า
ในทางกลับกัน หากเราเล่าเรื่องเกี่ยวกับตัวเองมากเกินไปก็ไม่ดีค่ะ เพราะอีกฝ่ายจะงงว่าทำไมถึงเล่าทั้งๆที่เขาไม่ได้ถาม บางทีเขาอาจจะไม่ได้อยากรู้ก็ได้ อีกทั้งหากเรานำไปเล่าได้ไม่ถูกคน เรื่องของเราอาจกลายเป็นหัวข้อในการนินทาในบริษัท ข่าวลือต่างๆหรือการกระทำของเราก็มีผลต่อการประเมิณผลงานในบริษัทเช่นกัน อย่าลืมว่าในสังคมการทำงานของญี่ปุ่นนั้น เรื่องส่วนตัวนั้นสามารถกระทบกับงานและความสัมพันธ์กับคนรอบข้างได้เป็นอย่างมาก ดังนั้นเล่าเฉพาะเรื่องที่เล่าได้ดีกว่า ไม่ต้องเล่าลึกแบบละเอียดสุดๆ โดยเฉพาะเรื่องปัญหาครอบครัวหรือคนรัก แนะนำให้เก็บเอาไว้กับตัวจะดีกว่าค่ะ
หลังจากที่ได้อ่านไปแล้ว ผู้เขียนเชื่อว่าทุกคนจะสามารถปรับตัวในการทำงานเข้ากับคนญี่ปุ่นได้มากยิ่งขึ้น ถึงแม้ว่าจะมีความแตกต่างทางวัฒนธรรมที่ควรระวังอีกหลายจุดที่ผู้เขียนไม่ได้กล่าวถึง แต่ก็อย่ากลัวไปค่ะ หากเราเผลอทำผิดหรือเสียมารยาทแล้วขอโทษด้วยความจริงใจล่ะก็ อีกฝ่ายก็ยินดีที่จะให้อภัยและเข้าใจเราอย่างแน่นอนค่ะ
อาหารประจำสัปดาห์
ใคร ๆ ก็เข้าครัวไปกับ I’m JAVDEE วันนี้คือ
ฟรุตเค้ก (I am Jadee)
ส่วนผสมสำหรับ3ปอนด์
1. แป้งเค้ก 175 กรัม
2. เนยเค็ม 175 กรัม
3. น้ำตาลทรายแดง 140 กรัม
4. ไข่ไก่ 3 ฟอง
5. กลิ่นวนิลา 1 ชช
6. นมจืด 1/4 ถ้วยตวง
7. ผงฟู 1/2 ชช
8. เกลือ 1/2 ชช
9. ชินเนม่อน 1/2 ชช
10. นัมเมท 1/2 ชช
11. ถั่วอบ 100 กรัม
12. ผลไม้ต่างๆ 500 กรัม
13. ส่วนตกแต่งหน้า
- ผลไม่เชื่อม ปริมาฯตามชอบ
- แผมแอปปริคอต 300 กรัม
- อัลม่อนอบ (ปริมาณตามชอบ)
วิธีทำ
ดูตามคลิปเลยน้าคะ
------------------------------------------------
ติดตาม จาดี ได้ที่
(มีอะไรสอบถาม หรือพูดคุยกับจาดี ได้ทางเฟสบุ๊คนะคะ)
Facebook : https://www.facebook.com/littlesweet.bakery
Instagram : https://www.instagram.com/jadee_little_sweet/
Youtube Little sweet Little channel :
https://www.youtube.com/c/LittleSweetLittleChannel
เคดิต ขอขอบคุณ Little Sweet / Little Channel (I’am จาดี)









