top of page

นิตรสาร  さくら ฉบับที่ 4

นิตรสารใหญ่.png

นิตยสาร さくらสุดสัปดาห์

วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2563

. . . . . สวัสดีพี่น้องชาวไทย ยินดีที่ได้รู้จักกับนิตยสาร さくら สุดสัปดาห์ วันศุกร์ที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ฉบับที่ 4

. . . . . นิตยสารฉบับที่ 4 นี้ เราจะพาไปดู บทที่ 12 คำย่อในภาษาญี่ปุ่นที่ควรรู้ คำศัพท์วันละ 10 คำของ "อักษร ค" ตะลุยไวยากรณ์และคำศัพท์ EP.2 ~かどうか ことわざ慣用句 สุภาษิต สำนวน ตอนที่ 3 漢字 ไม่ยากอย่างที่คิด อักษรคันจิคำที่ 301 – 310 Mind Map ศัพท์ญี่ปุ่น ตอนที่ 2 สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่น (ฉบับทำใหม่) Ep.1 Origami (การพับกระดาษ)เกร็ดความรู้ญี่ปุ่น รู้จักกับ 5 เครื่องดนตรีโบราณของญี่ปุ่น ใคร ๆ ก็เข้าครัวไปกับ I’m JAVDEE วันนี้คือ “เค้กป๊อป แมวพูชิน(เชฟจาดี)(I am Jadee)”

 

บทที่ 12 คำย่อในภาษาญี่ปุ่นที่ควรรู้

. . . . . ในบทสุดท้ายนี้เขียนจะขอแนะนำคำศัพท์หรือคำย่อกับการทำงานให้ผู้อ่านได้รู้จักไว้บ้าง เพราะจะต้องได้เห็นได้ใช้ในที่ทำงานกันแน่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นในออฟฟิศหรือโรงงาน

. . . . . 三現(さんげん) sangen หลักความจริง 3 ประการ (3 Gen Principle) ซึ่งเป็นหลักสำคัญที่คนญี่ปุ่นยึดถือในการปฏิบัติงาน เพื่อให้งานสำเร็จ ลุล่วงตามแผนงานที่วางไว้และมีความถูกต้องแม่นยำมากที่สุด โดยประกอบด้วย

อ่านรายละเอียด

ภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ ビジネス日本語

 

ことわざ慣用句 สุภาษิต สำนวน ตอนที่ 3 顔が利く (ใช้หน้าได้ผล)

{ความหมาย}

. . . . . เป็นที่รู้จักกว้างขวาง, แม้แต่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ก็สามารถทำได้ (ใช้เส้นสาย)

อ่านรายละเอียด

 

Mind Map ศัพท์ญี่ปุ่น ตอนที่ 1 อาหารและร้านอาหาร [1]

. . . . . กล่าวกันว่าในบรรดาอาหารทั้งหมดที่มีอยู่ในทั่วโลกอาหารญี่ปุ่นถือได้ว่าเป็นอาหารที่มีลักษณะพิเศษและมีลักษณะที่เป็นเอกลักษณ์แบบเฉพาะตัวอย่างยิ่ง โดยเกิดจากการผสมผสานกันระหว่างศาสตร์ ศิลป์ และจิตวิญญาณที่มีความงดงาม และมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจนในฤดูกาลต่าง ๆ ส่งผลต่อความรู้สึกนึกคิดและจิตใจของชาวญี่ปุ่นโดยตรง จนนำไปสู่ความพิถีพิถัน ความละเอียดประณีต และความมีอารมณ์สุนทรีย์ในการรับประทานอาหารที่เป็นแบบฉบับของชาวญี่ปุ่นมาจนถึงทุกวันนี้

ร้านอาหาร

. . . . . ร้านอาหารต่าง ๆ ที่อยู่ในเมืองนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมีอาหารของประเทศต่าง ๆ ที่ทำให้ชาวญี่ปุ่นนั้นสามารถเลือกรับประทานได้ตามใจชอบ โดยมีตั้งแต่อาหารญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็น โซบะ อุด้ง เทมปุระ และซูชิ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีอาหารของประเทศไทย จีน อินเดีย เวียดนาม อิตาลี และอาหารจานด่วน

อ่านรายละเอียด

 

ตะลุยไวยากรณ์และคำศัพท์

สำหรับสอบวัดระดับ ภาษาญี่ปุ่น N4

ตะลุยไวยากรณ์และคำศัพท์ ตอน ~かどうか

. . . . . เป็นสำนวนที่ใช้เมื่อรู้สึกลังเลหรือสงสัยว่า เรื่องราวบางอย่างนั้นจะเกิดขึ้นหรือไม่ จะเป็นเช่นนั้นจริง ๆ หรือไม่ หรือ จะทำหรือไม่ทำ มักใช้ร่วมกับคำว่า 分からないwakaranai, 聞くkiku, 知っているshitte iru, 言うiu, 調べるshiraberu, 覚えるoboeru และสำนวน ~てみる เป็นต้น จำสังเกตเห็นได้ว่า รูปสำนวนดังกล่าวเป็นการใช้วลีเสริมในประโยคคำถามแต่ไม่มีคำแสดงคำถามอยู่ในรูปประโยค

อ่านรายละเอียด

ตะลุยไวยากรณ์และคำศัพท์

สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่น (ฉบับทำใหม่) Ep.1 Origami (การพับกระดาษ)

. . . . . 何の変哲もない正万形の紙を「折る」ことによって、かわいい花や鳥,動物をはじめとする身近なものの体像を作る「折り紙」は、長年、子供たちから大人にまで親しまれて采ました。誰でも子供の時に、お母さんやおばあさんたちに折り紙でいろいろなものを折ってらった楽しい思い出があります。

. . . . . 折り紙 (origami) เป็นงานฝีมือในการพับกระดาษเป็นรูปต่าง ๆ ทรงสามมิติ เริ่มตั้งแต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัว เช่น รูปดอกไม้ นก หรือสัตว์น่ารักต่าง ๆ เป็นต้น โดยใช้เพียงกระดาษสีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส การพับกระดาษนี้เป็นที่ชื่นชอบ ปฏิบัติกันมาทั้งเด็กและผู้ใหญ่เป็นเวลานานแล้ว พวกเรายังจำได้ถึงวัยเด็กอันแสนสุขเมื่อแม่หรือคุณยายพับกระดาษสีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นรูปต่าง ๆ ให้

Ep.1 Origami (การพับกระดาษ)

สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่น ทุก Ep.

 

รู้จักกับ 5 เครื่องดนตรีโบราณของญี่ปุ่น

. . . . . เครื่องดนตรีญี่ปุ่นเป็นศิลปะโบราณที่สะท้อนถึงความเป็นญี่ปุ่นได้เป็นอย่างดี หลายอย่างแค่ได้ยินเสียงก็รู้ได้ทันทีว่านี่คือเครื่องดนตรีของญี่ปุ่น ชาคุฮาจิ โคโตะ บิวะ ชามิเซ็ง สิ่งเหล่านี้คือตัวอย่างของเครื่องดนตรีญี่ปุ่นโบราณ ที่แม้ในปัจจุบันก็ยังถูกใช้ประกอบการแสดงในงานเทศกาลญี่ปุ่นต่างๆให้เห็นอยู่เสมอ

. . . . . เครื่องดนตรีญี่ปุ่นโบราณที่จะพาไปทำความรู้จักกันในหัวข้อนี้หลายคนอาจจะเคยเห็นหรือเคยได้ยินเสียงเพลงที่ไพเราะจากเครื่องดนตรีเหล่านี้มาบ้างแล้ว นั่นก็คือ โคโตะ (koto), ขลุ่ยชากุฮาจิ (Shakuhachi), ซามิเซน (Shamisen), กลองไทโกะ (Taiko) และบิวะ (Biwa)

 

1. ซามิเซ็ง (Shamisen)

. . . . . เครื่องดนตรีดั้งเดิมประเภทเครื่องสายที่มีชื่อเสียงในเรื่องความไพเราะของเสียงและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแบบญี่ปุ่น เชื่อกันว่ามีพื้นฐานมาจากเครื่องดนตรีของจีนและเผยแพร่เข้ามาในญี่ปุ่นผ่านอาณาจักรริวกิว (โอกินาวา) มีลักษณะค่อนข้างคล้ายไวโอลิน ตรงคอจะยาวจนสังเกตเห็นได้ชัดโดยมีความยาวประมาณ 1 เมตร ซามิเซ็งมีสายที่ใช้ในการเล่นอยู่ 3 สาย สามารถพบเห็นและได้ยินเสียงเครื่องดนตรีนี้ตามงานกิจกรรมหรือเทศกาลท้องถิ่นที่เกี่ยวกับดนตรีของญี่ปุ่น

. . . . . ซามิเซ็ง จะมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการเล่นในรูปแบบเดียวกันกับคันชักของไวโอลิน เป็นแท่งไม้เรียกว่า บัตจิ (batchi) ในประวัติศาสตร์ ซามิเซ็งมักถูกใช้ประกอบการแสดงละครคาบุกิเพราะเสียงที่ยาวและกระชับซึ่งเป็นเสียงเพลงที่เหมาะกับคาบุกิ รวมทั้งยังนิยมใช้ในการแสดงหุ่นเชิดและการบรรเลงเพลงท้องถิ่นด้วย

. . . . . ปัจจุบันในวงการดนตรีสมัยใหม่ของญี่ปุ่น ซามิเซ็งก็ได้รับความสนใจจากวงดนตรีสมัยใหม่หลายวง โดยเฉพาะวงเมทัล ที่ได้มีการนำซามิเซ็งมาร่วมใช้ในการแสดงหรือในมิวสิควิดีโอด้วย และนี่ก็เป็นอีกหนึ่งบทบาทในยุคสมัยใหม่ของเครื่องดนตรีชนิดนี้

 

2. ขลุ่ยไม้ไผ่ชาคุฮาจิ (Shakuhachi)

. . . . . ขลุ่ยไม่ไผ่หรือชาคุฮาจิ (Shakuhachi) เข้ามาในประเทศญี่ปุ่นผ่านจีนและบ้างก็เชื่อว่ามีต้นกำเนิดไกลถึงประเทศอียิปต์ ลักษณะเป็นขลุ่ยไม้ไผ่ห้ารู และเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมอย่างมากในสมัยเอโดะ ขลุ่ยชาคุฮาจิจะมีขนาดแตกต่างกันไป อีกทั้งมีโทนเสียงสูงต่ำที่ผู้เล่นเก่งๆสามารถสร้างเสียงแบบต่างๆได้อย่างหลากหลาย เป็นเสียงที่ไพเราะให้ความรู้สึกงดงาม สงบ เยือกเย็น

. . . . . ในอดีตขลุ่ยชาคุฮาจิถูกใช้โดยพระสงฆ์ในศาสนาพุทธนิกายเซนและถือว่าเป็นเครื่องดนตรีศักดิ์สิทธิ์ เพราะการฝึกเล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้ถือเป็นการฝึกสมาธิด้วยวิธีฝึกการใช้เทคนิคหายใจเข้าออกอย่างช้าๆ และเป็นจังหวะอีกนั่นเอง

. . . . . เมื่อเข้าสู่สมัยเมจิ ขลุ่ยชาคุฮาจิได้รับความนิยมในการเล่นอย่างกว้างขวาง เช่น การใช้เป็นเครื่องดนตรีประกอบการแสดงละครคาบุกิและการแสดงระบำอื่นๆ กระทั่งในปัจจุบันก็ได้ถูกนำมาใช้บรรเลงร่วมกับดนตรีสมัยใหม่ เช่น จากภาพยนตร์เรื่อง The Last Samurai, Memoirs of a Geisha เป็นต้น

 

3. โคโตะ (Koto)

. . . . . โคโตะ เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายที่ถูกกำหนดให้เป็นเครื่องดนตรีประจำชาติของญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ มีประวัติยาวนานกว่าซามิเซ็งและมีต้นกำเนิดมากจากประเทศจีน มีขนาดใหญ่ทำขึ้นจากไม้ มีความยาวเฉลี่ย 180 ซม. กว้างประมาณ 20-30 ซม.ประกอบด้วย 13 สาย

. . . . . เสียงของโคโตะมาจากการดีดด้วยนิ้วสามนิ้วของมือขวาคือ นิ้วโป้ง นิ้วชี้ และนิ้วกลาง ในการเล่นจะมีปลอกสวมหุ้มที่นิ้วทั้งสามนิ้ว เรียกว่า สึเมะ (tsume) ส่วนมือซ้ายจะทำหน้าที่กดสายทางด้านซ้ายให้เป็นเสียงตัวโน้ตดนตรีควบคู่กัน (คล้ายการเล่นจะเข้ของไทย)

. . . . . โคโตะถือได้ว่าค่อนข้างได้รับความนิยมมาตลอดตั้งแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้ จัดอยู่ในอีกหนึ่งวัฒนธรรมที่ชาวญี่ปุ่นนิยมฝึกเรียนเป็นงานอดิเรก (คล้ายๆกับพิธีชงชาและการจัดดอกไม้) ปัจจุบัน โคโตะเป็นเครื่องดนตรีที่นักเรียนและนักศึกษาในญี่ปุ่นสามารถฝีกเล่นได้ในกิจกรรมของชมรมทั้งในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย รวมทั้งสามารถพบเห็นได้ในงานกิจกรรมหรือเทศกาลท้องถิ่นดั้งเดิมของญี่ปุ่นด้วย หรือแม้แต่การใช้เป็นเครื่องดนตรีประกอบสำหรับเพลง J-Pop สมัยใหม่ก็มีให้ฟังเช่นกัน

 

4. กลองไทโกะ (Wadaiko)

. . . . . เป็นกลองแบบดั้งเดิมที่น่าจะเป็นที่รู้จักกันดีของญี่ปุ่น มีประวัติศาสตร์ยาวนานจากการใช้ในการทหารและการสงคราม รวมถึงเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้ในโรงละครและสำหรับพิธีกรรมทางศาสนา เป็นเครื่องดนตรีที่แม้ในทุกวันนี้ก็น่าจะยังเป็นที่รู้จักกันดี เพราะมีการนำมาใช้ในทุกๆโอกาสและเทศกาลสำคัญ

. . . . . ไทโกะมีหลายขนาดและมีลักษณะรูปร่างคล้ายกับถังไวน์ สดุที่ใช้ทำก็มีหลากหลาย ตามวัดและศาลเจ้าในญี่ปุ่นจะพบเห็นกลองขนาดใหญ่มากตั้งอยู่ ในขณะที่กลองไทโกะขนาดเล็กจะใช้ในงานพิธีที่สามารถเดินไปพร้อมกับตีกลองไปด้วยได้

. . . . . ปัจจุบันการตีกลองไทโกะสามารถพบเห็นได้ตามขบวนแห่และงานเทศกาลที่มีอยู่ทั่วประเทศญี่ปุ่นตลอดปี ไทโกะถือเป็นศิลปะการแสดงอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่แค่การตีกลองให้เข้าจังหวะเท่านั้น แต่ยังมีลีลาท่วงท่าอันเป็นเอกลักษณ์ซึ่งต้องอาศัยความแข็งแรงของร่างกายบวกกับการฝึกฝนอย่างหนัก

 

5. บิวะ (Biwa)

. . . . . เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดที่มีลักษณะคล้ายผลลูกแพร์ญี่ปุ่น (ที่มีชื่อว่าผลบิวะ) ปกติมี 4-5 สาย เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าพิณญี่ปุ่น มีคอขนาดสั้นและเล็ก ใช้บัตจิเป็นเครื่องมือในการบรรเลงเพลง บิวะจัดอยู่ในเครื่องดนตรีที่ใช้ในการแสดงดนตรีของราชสำนักแบบดั้งเดิม (Gagaku) และเป็นเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงแบบแสดงเดี่ยวได้ด้วย

. . . . . มีความเชื่อกันว่าบิวะคือเครื่องดนตรีที่ถูกเลือกของเทพเจ้าเบนเทน (Benten) เทพธิดาแห่งดนตรีในลัทธิชินโต ทำให้ได้รับความนิยมอย่างมากในช่วงก่อนยุคเมจิ แต่หลังจากยุคนั้นความนิยมในเครื่องดนตรีโบราณก็เสื่อมถอย แต่ศิลปินชาวญี่ปุ่นในทุกวันนี้ก็พยายามฟื้นฟูการเล่นบิวะให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นอีกครั้ง โดยปัจจุบันเสียงจากเครื่องดนตรีบิวะมีการนำไปประยุกต์ใช้กับดนตรี J-pop สมัยใหม่และดนตรีประกอบในภาพยนตร์ญี่ปุ่นบางเรื่อง นอกจากนี้ยังสามารถพบเห็นได้ตามงานแสดงดนตรีแบบดั้งเดิมในญี่ปุ่นได้เช่นกัน

 

ภาษาญี่ปุ่นวันละ 20 คำ "อักษร ค"

ค่าน้ำประปา すいどうりょうきん 『水道料金』Suidouryoukin

ค่าบริการ サービスりょう 『サービス料』Saabisuryou

ค่าปรับ  ばっきん 『罰金』Bakkin

ค่าผ่านประตู にゅうじょうりょう 『入場料』Nyuujouryou

ค่าพาหนะ こうつうひ 『交通費』Koutsuuhi

ค่าไฟ でんきだい 『電気代』Denkidai

ค่ารถ くるまだい 『車代』Kurumadai

ค่าแรง ちんぎん 『賃金』Chingin

ค่าเล่าเรียน じゅぎょうりょう 『授業料』Jugyouryou

ค่าสมาชิก かいひ 『会費』Kaihi

--------------------------------------------------------------

ค่าอาหาร しょくひ 『食費』Syokuhi

ค้าขาย しょうばいする 『商売する』Syoubaisuru

คาง あご 『顎』Ago

ค้างแรม しゅくはくする、とまる 『宿泊する、泊まる』Syukuhakusuru, Tomaru

คาดเข็มขัด ベルトをしめる 『ベルトを締める』Beruto o shimeru

คาดคะเนすいさつする 『推察する』Suisatsusuru

คาดหวัง きたいする 『期待する』Kitaisuru

คาบสมุทร はんとう 『半島』Hantou

คาย はきだす 『吐き出す』Hakidasu

คาร์บอนไดออกไซด์ にさんかたんそ、たんさんガス 『二酸化炭素、炭酸ガス』Nisankatanso, Tansagasu

อ่านรายละเอียด

 

漢字 ไม่ยากอย่างที่คิด

อักษรคันจิคำที่ 301 - 305

อักษรคันจิ คำที่ 301

ความหมาย :       รับใช้ งานการ ทำหน้าที่ เป็นข้ารับใช้

คำอ่าน :           シ、つかえる

หมวดอักษร :      คน

อักษรคันจิ คำที่ 302

ความหมาย :       ตาย แน่นิ่ง ถึงแก่กรรม ไร้ชีวิตชีวา ใช้การไม่ได้อีกต่อไป

คำอ่าน :           シ、しぬ、しなす

หมวดอักษร :      歹しいちたへんกระดูก

อักษรคันจิ คำที่ 303 使

ความหมาย :       ใช้ ทูต สาวก การใช้ การใช้ไปทำธุระ คนที่ถูกใช้ไปทำธุระ

คำอ่าน :            シ、つかう、つかい

หมวดอักษร :       คน

อักษรคันจิ คำที่ 304

ความหมาย :       เริ่มต้น การเริ่มต้น จุดเริ่ม ตั้งต้น เริ่มขึ้น เปิดเรียน ริเริ่ม ตอนต้น ตอนแรก กำเนิด

คำอ่าน :           シ、はじまり、はじまる、はじめる、はじめ

หมวดอักษร :      ผู้หญิง

อักษรคันจิ คำที่ 305

ความหมาย :       นิ้ว ชี้ ระบุ มุ่งไปยัง เดินหมากรุก การชี้นิ้ว การบอกให้ทำตาม การสั่ง คำบัญชา

คำอ่าน :           シ、さす、さし、ゆび

หมวดอักษร :      扌てへんมือ

อ่านรายละเอียด

 

อักษรคันจิคำที่ 306 - 310

อักษรคันจิ คำที่ 306

ความหมาย :       ฟัน ทันต

คำอ่าน :           シ、は

หมวดอักษร :      ฟัน

อักษรคันจิ คำที่ 307

ความหมาย :       บทกวี คำประพันธ์ ร้อยกรอง โคลง ฉันท์กาพย์ กลอน

คำอ่าน :            シ、うた

หมวดอักษร :      พูด

อักษรคันจิ คำที่ 308

ความหมาย :       ต่อไป ตามลำดับ ถัดไป ต่อจากนี้ ดังนี้ ที่สอง รองลงมา

คำอ่าน :           ジ、し、つぐ、つぎ

หมวดอักษร :      欠かける ค้าง, อ้าปาก

อักษรคันจิ คำที่ 309

ความหมาย :       เรื่อง สิ่ง การ งาน อะไร ๆ กิจธุระ

คำอ่าน :            ジ、こと

หมวดอักษร :      ขีดตั้ง

อักษรคันจิ คำที่ 310

ความหมาย :       ถือ มี คงทน พก เอาไฟ นำ รับเป็นธุระ เก็ดได้นาน การรับภาระ

คำอ่าน :           ジ、もつ

หมวดอักษร :      扌てへん มือ

อ่านรายละเอียด

漢字 ไม่ยากอย่างที่คิด อ่านรายละเอียด

 

อาหารประจำสัปดาห์

ใคร ๆ ก็เข้าครัวไปกับ I’m JAVDEE วันนี้คือ

เค้กป๊อป แมวพูชิน (เชฟจาดี)(I am Jadee)     

 

ส่วนผสม

            1.เนื้อเค้กวนิลา  400 กรัม

            2.เนยเค็ม  50-70  กรัม

            3.ไวท์ช็อคโกแลต  250  กรัม

            4.สีผสมอาหารสีดำ  ปริมาณตามชอบ

            5.อัลม่อนอบ  10 เม็ด

            6.ฟองดอง  ปริมาณตามชอบ

 

วิธีทำ

            ดูตามคลิปเลยน้าคะ

 

 

 

 

------------------------------------------------

ติดตาม จาดี ได้ที่

(มีอะไรสอบถาม หรือพูดคุยกับจาดี ได้ทางเฟสบุ๊คนะคะ)

Facebook : https://www.facebook.com/littlesweet.bakery

Instagram : https://www.instagram.com/jadee_little_sweet/

Youtube Little sweet Little channel :

https://www.youtube.com/c/LittleSweetLittleChannel

เคดิต ขอขอบคุณ Little Sweet / Little Channel (I’am จาดี)

1.jpg
2.jpg
3.jpg
4.jpg
5.jpg
6.jpg
bb57.gif
bb57.gif
bb57.gif
bb57.gif
bb57.gif
bb57.gif
bb57.gif
bb57.gif
bb57.gif

เว็บนี้เป็นการเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยตนเอง

 

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้น

 - - - ตามใดที่ทุกคนพยายาม - - -

Thanks for submitting!

Join us on:

 

  • Facebook Classic
  • f7e8c32d420b6da05f807488ebf8a1e5

© 2019 by Sagurazaga Akira.

Proudly created with Wix.com 

bottom of page