top of page

นิตรสาร  さくら ฉบับที่ 3

นิตรสารใหญ่.png

นิตยสาร さくらสุดสัปดาห์

วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2563

. . . . . สวัสดีพี่น้องชาวไทย ยินดีที่ได้รู้จักกับนิตยสาร さくら สุดสัปดาห์ วันพฤหัสบดีที่ 24 กันยายน 2563 ฉบับที่ 3

. . . . . นิตยสารฉบับที่ 3 นี้ เราจะพาไปดู บทที่ 11 เรียนรู้เกี่ยวกับจำนวนและตัวเลข คำศัพท์วันละ 10 คำของ "อักษร ค" ตะลุยไวยากรณ์และคำศัพท์ ตอนที่ 1~あいだ『間』/~あいだに『間に』 เกร็ดความรู้ญี่ปุ่น รู้จักการจัดจานอาหารญี่ปุ่นทั้ง 4 ฤดู ことわざ慣用句 สุภาษิต สำนวน ตอนที่ 2漢字 ไม่ยากอย่างที่คิด อักษรคันจิคำที่ 291 – 300 Mind Map ศัพท์ญี่ปุ่น ตอนที่ 1.2 ใคร ๆ ก็เข้าครัวไปกับ I’m JAVDEE วันนี้คือ “โมจิช็อคลาวา(เชฟจาดี)(I am Jadee)”

 

บทที่ 11 เรียนรู้เกี่ยวกับจำนวนและตัวเลข

เรื่องของตัวเลข

                * วิธีบอกจำนวนหลาย ๆ หลัก อย่างง่าย ๆ

                จำนวนตัวเลขตั้งแต่หลักแสนถึงสิบล้าน (100,000 – 10,000,000) จะนับโดยใช้หลักหมื่นตั้ง แล้วใช้เป็นจำนวนเท่าในการนับ เช่น

                100,000 คือ 10 (十(じゅう)) X 10,000 (万(まん)) - - -> สิบหมื่นเท่ากับ หนึ่งแสน ในภาษาญี่ปุ่น อ่านว่า 十万(じゅうまん) juu man

                1,000,000 คือ 100 (百(ひゃく)) X 10,000 (万(まん)) - - -> ร้อยหมื่น เท่ากับ หนึ่งล้าน ในภาษาญี่ปุ่น อ่านว่า 百万(ひゃくまん) hyaman

                10,000,000 คือ 1,000 (千(せん)) X 10,000 (万(まん)) - - -> พันหมื่น เท่ากับ สิบล้าน ในภาษาญี่ปุ่น อ่านว่า 千万(せんばん)senman

                สำหรับตัวเลขในหลักพันล้านถึงแสนล้าน (1,000,000,000 – 100,000,000,000) จะเป็นการคำนวณเลข โดยใช้หลักร้อยล้านตั้งและใช้เป็นจำนวนเท่าในการนับ เช่น

                1,000,000,000 คือ 10 (十(じゅう)) X 100,000,000 (億(おく)) - - -> สิบร้อยล้าน เท่ากับ พันล้าน ในภาษาญี่ปุ่น อ่านว่า 十億 juu oku

                10,000,000,000 คือ 100 (百(ひゃく)) X 100,000,000 (億(おく)) - - -> ร้อยร้อยล้าน เท่ากับ หมื่นล้าน ในภาษาญี่ปุ่น อ่านว่า 百億(ひゃくおく) hyaoku

                100,000,000,000 คือ 1,000 (千(せん)) X 100,000,000  (億(おく)) - - -> พันร้อยล้าน เท่ากับ แสนล้าน ในภาษาญี่ปุ่น อ่านว่า 千億(せんおく) senoku

อ่านรายละเอียด

ภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ ビジネス日本語

 

ことわざ慣用句 สุภาษิต สำนวน ตอนที่ 2 一目置(いちもくお)く(วางหมากหนึ่งตัว)

{ความหมาย}

            รู้สึกยกย่องนับถืออีกฝ่ายหนึ่งจนต้องขอถอยห่างมา 1 ก้าว มีที่มาจากการเล่นหมากล้อมญี่ปุ่น ซึ่งฝ่ายที่เป็นรองจะวางหมากไว้ก่อน 1 ตัว

อ่านรายละเอียด

 

Mind Map ศัพท์ญี่ปุ่น ตอนที่ 1 ร่างกายของเรา (2)

ข้อสังเกต

. . . . . ชาวญี่ปุ่นนั้นมักจะกล่าวคำทักทายเฉพาะกับคนที่ตนรู้จักมักคุ้น หรือกับคนที่อยู่ในกลุ่มของตนเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่ต่อยเห็นคนญี่ปุ่นกล่าวคำทักทายกับคนที่พวกเขาไม่รู้จักหรือคนที่อยู่นอกกลุ่มตน โดยจะสังเกตเห็นได้เมื่ออยู่บนรถไฟฟ้า หรือการเดินเล่นตามสวนสาธารณะ หรือแม้กระทั่งตามรถหนทางต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้คนญี่ปุ่นมักถูกมองว่าชอบปิดกั้นตนเองเป็นอย่างมาก ดังนั้นในการคบหาสมาคมกับชาวญี่ปุ่น เราจึงควรคำนึงถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในรูปแบบต่าง ๆ และมารยาทเบื้องต้นขั้นพื้นฐานในการปฏิบัติตนอยู่เสมอ

. . . . . พื้นฐานในวัฒนธรรมของสังคมญี่ปุ่นนั้น มีลักษณะเป็นแบบ “ระบบของการรวมกลุ่ม” กล่าวคือ เป็นสังคมที่ผู้คนต่าง ๆ มักจะมาอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ๆ โดยมีความรู้สึกที่ว่าตนนั้นเป็นสมาชิกที่มีบทบาท หน้าที่ และเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ต้องยึดถือหลักการอยู่ร่วมกันในสังคม โดยมีการวางพื้นฐานกฎเกณฑ์และกติกาต่าง ๆ ร่วมกัน เราจึงมักจะเห็นคนญี่ปุ่นใช้คำศัพท์คำว่า 本音(ほんね) hone ฮนเนะ ที่หมายถึง “ใจจริง” และคำว่า 立前(りつまえ) tatemae ทะเทะมะเอะ ที่มีความหมายว่า “ภายนอก” คำว่า 本音(ほんね) hone ฮนเนะ นั้น อาจตีความหมายโดยคร่าว ๆ ได้ว่า หมายถึง “หลักการส่วนรวม” ก็ได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าคนญี่ปุ่นโดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะให้ความสำคัญกับแนวคิดแบบนี้ที่ถือเป็นกฎเกณฑ์หรือหลักการของสักคมโดยส่วนรวมเป็นสำคัญ

อ่านรายละเอียด

 

ตะลุยไวยากรณ์และคำศัพท์

สำหรับสอบวัดระดับ ภาษาญี่ปุ่น N4

. . . . . รวบรวมหลักไวยากรณ์และคำศัพท์ที่ต้องใช้ในการสอบวัดระดับความรู้ ด้านภาษาญี่ปุ่น (JLPT) ระดับ N4

          เนื่องจากปัจจุบันนี้มีผู้ที่กำลังเรียนหรือสนใจที่จะศึกษาภาษาญี่ปุ่นด้วยตนเองในระดับชั้นต้นเป็นจำนวนมาก ที่ต้องการปูพื้นฐานความรู้ทางด้านไวยากรณ์ของตนเองให้แม่นยำ เพื่อที่จะสามารถนำไปใช้เตรียมตัวสอบวัดระดับความรู้ด้านภาษาญี่ปุ่น (JLPT) หรือต้องการนำมาใช้ทบทวนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในด้านไวยากรณ์ให้สูงขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมที่จะก้าวเข้าสู่การเรียนรู้ไวยากรณ์ในระดับชั้นกลางและชั้นสูงต่อไป

ตะลุยไวยากรณ์และคำศัพท์ ตอน ~あいだ『間』/~あいだに『間に』

. . . . . ใช้ ~間(あいだ)(aida) เพื่อแสดงว่าในช่วงระยะเวลาดังกล่าวได้มีการกระทำหรือสภาพเกิดขึ้น ที่ได้ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องตลอดระยะเวลาที่กล่าวถึงนั้น โดยมีจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดที่ชัดเจน มักใช้ร่วมกับคำกริยาวิเศษณ์คำว่า ずっと (zutto) สำหรับคำกริยาที่นำมาใช้ร่วมกับคำว่า 間(あいだ) aida นั้น จะใช้คำกริยาที่แสดงการกระทำในลักษณะที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง เช่น 勉強(べんきょう)する(benkyou suru) , 歩(ある)く(aruku) , 走(はし)る(hashiru) , 読(よ)む(yomu) , 働(はたら)く(hataraku) , 歌(うた)う(utau) , 書(か)く(kaku) , 待(ま)つ(matsu) เป็นต้น

อ่านรายละเอียด

ตะลุยไวยากรณ์และคำศัพท์

 

เกร็คความรู้ญี่ปุ่นรู้จักการจัดจานอาหารญี่ปุ่นทั้ง 4 ฤดู

. . . . . หลายท่านที่เคยไปร้านอาหารญี่ปุ่นจะต้องเคยสั่ง set อาหารญี่ปุ่นเพื่อมารับประทาน และมีไม่น้อยที่จะหยิบกล้องขึ้นมาถ่ายรูปอาหารเก็บเป็นที่ระลึก แต่เคยสังเกตุมั้ยว่ารายละเอียดการจัดวางของอาหารนั้นเป็นอย่างไรบ้าง ในครั้งนี้เราจะอยากจะแนะนำไห้รู้จักกับวิธีการจัดชุดอาหารแบบญี่ปุ่นว่าเป็นอย่างไร เอกลักษณ์ของอาหารญี่ปุ่นในแต่ละฤดูที่น่าสังเกตนั้นมีอะไรบ้าง เมื่อทราบเทคนิคดังกล่าวแล้วสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการถ่ายรูปอาหารให้ตรงจุดได้อย่างแน่นอน

 

ชุดอาหารญี่ปุ่นหลัก อิจิจูซันไซ

. . . . . โดยทั่วไปแล้ววัฒนธรรมการจัดชุดอาหารแบบญี่ปุ่นนั้นจะยึดหลัก อิจิจูซันไซ (一汁三菜) ซึ่งแปลว่าน้ำซุป 1 อย่าง และกับข้าว 3 อย่าง หมายถึงในชุดอาหารต่อท่านหนึ่งนั้นจะต้องมีข้าว กับข้าว และเครื่องเคียงรวมกัน 3 อย่าง เช่น ข้าวเสริฟพร้อมกับน้ำซุปอย่างน้ำซุปมิโซะ ซุปสาหร่าย อีก1ถ้วย ซึ่งหากนำมาวางบนถาดอาจจัดวางได้ดังนี้

 

ข้าว วางบริเวณซ้ายมือสุด

น้ำซุป วางบริเวณขวามือสุด

อาหารหลัก วางบริเวณด้านบนของตำแหน่งถาดอาหาร ในส่วนนี้บางเมนูอาจนำไปใส่รวมกับข้าวด้วย เช่น ข้าวหน้าปลาไหลญี่ปุ่น

กับข้าวหรือเครื่องเคียงรองลงมา วางไว้ข้างๆอาหารหลัก

เครื่องเคียงเล็กน้อย อาทิ ผักดอง วางไว้ตรงกลางระหว่างข้าวกับน้ำซุป

และตะเกียบ วางรวบไว้เป็นแนวนอนบริเวณข้างล่างข้าว

. . . . . แต่แน่นอนว่านอกจากอิจิจูซันไซแล้ว ก็ยังมีการจัดวางได้อีกหลายรูปแบบ เช่นอาหารประเภทหม้อไฟ (นาเบะ) ที่ส่วนใหญ่จะใหญ่เกินกว่าจะจัดลงในถาดเดียวได้

 

เอกลักษณ์ของอาหารญี่ปุ่น

. . . . . สำหรับวัฒนธรรมอาหารที่เด่นชัดของญี่ปุ่นอย่างหนึ่งคือ ความสดใหม่ของของวัตถุดิบ ในที่นี้คือการรักษาคุณภาพและรสชาติของอาหารให้คงความสดใหม่ ด้วยเหตุนี้เราจึงมักเห็นร้านอาหารที่มักใช้วิธีการปรุงอาหารสดๆมากมายทั่วประเทศญี่ปุ่นและร้านอาหารที่เน้นความหลากหลายของวัตถุดิบสดๆทางทำธรรมชาติที่ไม่ผ่านการปรุงแต่งใดๆอย่าง ซูชิหรือซาชิมิ เป็นต้นครอบคลุมทั่วประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้คนญี่ปุ่นได้ให้นิยามไว้ว่าอาหารญี่ปุ่นนั้นจะต้องมี 5 รสชาติ 5 สี รับรู้จาก 5 สัมผัส และใช้ 5 วิธีในการปรุงอาหาร

อุดมไปด้วย 5 รสชาติ ได้แก่ รสหวาน รสเปรี้ยว รสเค็ม รสขม และรสเผ็ด

แฝงไปด้วย 5 สี ได้แก่ สีขาวจากข้าว สีดำ(สีม่วง)จากสาหร่าย สีเหลืองจากผักบางชนิด สีแดงจากปลาและเนื้อสัตว์ และสีเขียวจากผักทั่วไปในญี่ปุ่น

สัมผัสได้จากประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตาที่มองเห็นสีสันของอาหาร หูที่ได้ยินเสียง (เช่น เสียงอาหารบนกระทะร้อน) จมูกที่ได้กลิ่นอาหารหอมๆ และปากที่ลิ้มรสชาติและสัมผัสของอาหาร

5 วิธีการปรุงอาหาร ได้แก่ ย่าง ต้ม ทอด นึ่ง และอาหารสด

 

ชุดอาหาร4ฤดู

                การจัดชุดอาหารญี่ปุ่นในแต่ละฤดูนั้นแตกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิงทั้งสีสันของอาหาร อุปกรณ์และภาชณะใส่อาหารตามฤดู รวมถึงรูปแบบของอาหารที่นำมาเสริฟ แบ่งตาม4ฤดูกาลของญี่ปุ่นได้ดังนี้

 

ฤดูใบไม้ผลิ

ในช่วงเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม เป็นช่วงอากาศที่อบอุ่นสำหรับคนญี่ปุ่นและมีสภาพแวดล้อมธรรมชาติที่สวยงาม พืชผลมักผลิบาน ชุดอาหารที่จัดจะยึดโทนสีชมพูหรือสีเขียวในการตกแต่ง เช่นผักดองต่างๆหลายชนิด และมักใช้ดอกไม้ใบไม้สดในการตกแต่งอาหาร มักเลือกใช้ถ้วยเล็กๆ เยอะๆ เพราะช่วงนี้เป็นช่วงที่ปลาชุกชุม ทำให้เมนูที่เสริฟนั้นมักพร้อมไปด้วยปลาและเครื่องเคียงมากมาย ถ้วยที่เลือกใช้ใส่อาหารอาจเป็นลวดลายซากุระ

เมนูแนะนำ : เมนูหอยอาซาริ ปลา ผักดอง

 

ฤดูร้อน

ในช่วงเดือนมิถุนายน-สิงหาคม มีอากาศร้อนชื้นและฝนตกในช่วงสั้นๆ นิยมเสริฟอาหารในถ้วยแก้วใสๆ เพื่อให้รู้สึกถึงความเย็นสบาย ซึ่งจะใช้ทั้งกับของคาวและของหวานเย็นๆ ใช้ถ้วยชามทรงปากกว้างและตื้นเพื้อให้อาหารสัมผัสกับอากาศ โทนของอาหารและการตกแต่งช่วงฤดูร้อนจะมีสีสดใส เช่นเป็นสีแดง (จากเนื้อสัตว์) สีเขียว สีม่วง สีฟ้าแบบท้องฟ้า และบางทีก็เลือกอาหารที่ช่วยคลายร้อน เช่นบะหมี่เย็น

อาหารแนะนำ : ข้าวหน้าปลาไหลย่าง ซาชิมิกุ้งสด บะหมี่เย็นโซเม็ง

 

ฤดูใบไม้ร่วง

ในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน อากาศค่อนข้างสบายและเป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต อาหารมักจะเกี่ยวกับปลาและผักหลายชนิด อาหารมักตกแต่งด้วยใบไม้ที่เปลี่ยนสีและเน้นการใช้ชามเป็นหลัก โดยมักใช้ภาชนะที่เป็นไม้หรือเซรามิคสีค่อนข้างทึบ โทนสีการตกแต่งอาหารในฤดูใบไม้ร่วงนั้นมักจะเป็นสีแดง เหลือง และส้ม เพื่อแสดงถึงใบไม้เปลี่ยนสี

อาหารแนะนำ : ซูชิปลาต่างๆ ซาชิมิปลาสด ปลาย่าง

 

ฤดูหนาว

ในช่วงเดือนธันวาคม-กุมภาพันธ์ อากาศหนาวเย็นถึงขั้นติดลบ ด้วยเหตุนี้ถ้วยชามที่เลือกนำมาใส่นั้นจะเป็นทรงลึกเพื่อกักเก็บความร้อนให้คงอยู่ รวมถึงจะใช้หม้อหลากหลายรูปแบบเพราะเมนูหลักมักจะเป็นเมนูหม้อไฟและซุปร้อนประกอบเป็นหลักในชุดอาหาร โทนสีการตกแต่งอาหารในฤดูหนาวนั้นจะเป็นสีขาว

อาหารแนะนำ : เมนูปูและปลาหมึกยักษ์ต่างๆ หม้อไฟ

 

สำหรับในโอกาสพิเศษอาจเจอการตกแต่งชุดอาหารญี่ปุ่นด้วยสีแดงและสีทองเนื่องจากเป็นสีมงคล ส่วนชุดอาหารสำหรับงานอวมงคลของญี่ปุ่นจะเป็นโทนสีดำสนิท หวังว่าผู้อ่านหลายๆท่านจะนำเทคนิคการสังเกตชุดอาหารดั้งเดิมของญี่ปุ่นนี้ นำไปสังเกตความตั้งใจต่อรายละเอียดเล็กๆน้อยๆของร้านอาหารหรือภัตตาคารญี่ปุ่นเหมือนที่เขาใส่ใจต่อการบริการด้วยใจแบบญี่ปุ่นนะ

 

ภาษาญี่ปุ่นวันละ 20 คำ "อักษร ค"

คั้น しぼりだす『搾り出す』shiboridasu

คับ きついkitsui、きゅうくつ(な)『窮屈(な)』, kyuukutsu (na)

ค่า . . . ...だい 『代』dai

ค่าก่อสร้าง けんせつひ 『建設費』kensetsuhi

ค่าขนส่ง うんそうひ『運送費』unsouhi , うんちん『運賃』unchin

ค่าครองชีพ せいかつひ『生活費』seikatsuhi

ค่าจ้าง ちんぎん『賃金』chingin

ค่าเช่า ちんたいりょう『賃貸料』chintairyou

ค่าเช่าบ้าน やちん『家賃』yachin

ค่าเช่าห้อง へやだい『部屋代』heyadai

อ่านรายละเอียด

ภาษาญี่ปุ่นวันละ 20 คำ "อักษร ค"

คั้น しぼりだす『搾り出す』shiboridasu

คับ きついkitsui、きゅうくつ(な)『窮屈(な)』, kyuukutsu (na)

ค่า . . . ...だい 『代』dai

ค่าก่อสร้าง けんせつひ 『建設費』kensetsuhi

ค่าขนส่ง うんそうひ『運送費』unsouhi , うんちん『運賃』unchin

ค่าครองชีพ せいかつひ『生活費』seikatsuhi

ค่าจ้าง ちんぎん『賃金』chingin

ค่าเช่า ちんたいりょう『賃貸料』chintairyou

ค่าเช่าบ้าน やちん『家賃』yachin

ค่าเช่าห้อง へやだい『部屋代』heyadai

อ่านรายละเอียด

 

漢字 ไม่ยากอย่างที่คิด

อักษรคันจิคำที่ 291 - 295

อักษรคันจิ คำที่ 291

ความหมาย :        เนื้อ เนื้อสด กล้ามเนื้อ

คำอ่าน :             ニク

หมวดอักษร :       肉เนื้อ

อักษรคันจิ คำที่ 292

ความหมาย :        หมื่น ทั้งหลาย ทั้งสิน ทั้งมวล ทุกสิ่งทุกอย่าง สรรพ มากมาย นับไม่ถ้วน

คำอ่าน :             バン、マン、よるず

หมวดอักษร :        一หนึ่ง

อักษรคันจิ คำที่ 293

ความหมาย :        มอบหมาย ละทิ้ง ละเอียด ฝากให้ทำแทน ฝากเรื่อง ทุ่มเท สละตน มอบฉันทะ

คำอ่าน :            イ、まかせ、ゆだねる

หมวดอักษร :        女หญิง

อักษรคันจิ คำที่ 294

ความหมาย :        ศูนย์กลาง กึ่งกลาง

คำอ่าน :            オウ

หมวดอักษร :       大 ใหญ่

อักษรคันจิ คำที่ 295

ความหมาย :        จีนฮั่น, ราชวงศ์ฮั่น, ผู้ชาย, กุลบุตร, อักษรจีนแบบจีน, จีนโบราณ

คำอ่าน :             カン、から

หมวดอักษร :       氵さんすいน้ำ

อ่านรายละเอียด

 

อักษรคันจิคำที่ 296 - 300

อักษรคันจิ คำที่ 296

ความหมาย :        แบ่ง, จำแนก, เขตการปกครอง

คำอ่าน :            

หมวดอักษร :       匚はこがまえกล่อง

อักษรคันจิ คำที่ 297

ความหมาย :        ปีกนก, ขนนก

คำอ่าน :             ウ、はね

หมวดอักษร :        羽ปีก

อักษรคันจิ คำที่ 298

ความหมาย :        เส้น สาย เส้นทาง ร่องทาง ร่อง

คำอ่าน :            セン

หมวดอักษร :       糸ด้าย ไหม

อักษรคันจิ คำที่ 299

ความหมาย :        งานเทศกาล บูชา

คำอ่าน :            サイ、まつり、まつる

หมวดอักษร :       示แท่นบูชา

อักษรคันจิ คำที่ 300

ความหมาย :        จาน ภาชนะ พาน ชาม

คำอ่าน :            さら

หมวดอักษร :       皿จาน

อ่านรายละเอียด

漢字 ไม่ยากอย่างที่คิด อ่านรายละเอียด

 

อาหารประจำสัปดาห์

ใคร ๆ ก็เข้าครัวไปกับ I’m JAVDEE วันนี้คือ

โมจิช็อคลาวา(เชฟจาดี)(I am Jadee)  

 

ส่วนผสม

            แป้งข้าวเหนียว 200 กรัม

            น้ำตาลทราย 20 กรัม

            เกลือ 1/8ชช

            น้ำเปล่า  350 กรัม

            นูเทลล่า 200 กรัม

            ผงโกโก้ 2ชช

วิธีทำ

            ดูตามคลิปเลยน้าคะ

 

เคดิต ขอขอบคุณ Little Sweet / Little Channel (I’am จาดี)

1.jpg
2.jpg
ฤดูใบไม้ผลิ.jpg
ฤดูร้อน.jpg
ฤดูใบไม้ร่วง.jpg
ฤดูหนาว.jpg
bb57.gif
bb57.gif
bb57.gif
bb57.gif
bb57.gif
bb57.gif
bb57.gif
bb57.gif

เว็บนี้เป็นการเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยตนเอง

 

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้น

 - - - ตามใดที่ทุกคนพยายาม - - -

Thanks for submitting!

Join us on:

 

  • Facebook Classic
  • f7e8c32d420b6da05f807488ebf8a1e5

© 2019 by Sagurazaga Akira.

Proudly created with Wix.com 

bottom of page