

นิตรสาร さくら ฉบับที่ 11

นิตยสาร さくらStyle
วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2565
สวัสดีพี่น้องชาวไทย ยินดีที่ได้รู้จักกับนิตยสาร さくらStyle วันเสาร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2565 ฉบับที่ 11
นิตยสารฉบับที่ 11 นี้ เราจะพาไปดู
-
ことわざ慣用句 สุภาษิต สำนวน EP.10
-
Mind Map สนุกกับคำกริยา EP.7 สนุกกับคำวิเศษณ์
-
ตะลุยไวยากรณ์และคำศัพท์ EP.9 “~し”
-
สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่น EP.8 Setoo (ที่อาบน้ำสาธารณะ)
-
โจทย์ 500 N4 – N5 EP.7
-
แบบฝึกหัด 3
-
ภาษาญี่ปุ่นวันละ 20 คำ "อักษร ค"
-
漢字 ไม่ยากอย่างที่คิด 371 – 380
-
เกร็ดความรู้ญี่ปุ่น “3 เรื่องน่ารู้ของวันหมดอายุบนฉลากอาหารญี่ปุ่น”
-
ใคร ๆ ก็เข้าครัวไปกับ I’m JAVDEE “โอปันยากิ”
ことわざ慣用句 สุภาษิต สำนวน Ep.10 歯に衣着せぬ (ไม่ใส่เสื้อผ้าให้ฟัน)
[ความหมาย]
พูดออกมาตรง ๆ อย่างที่คิดโดยไม่เกรงใจ
衣หมายถึง เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม 衣を着せる คือ การห่มหุ้ม การสวมใส่ 着せぬ คือ 着せない (ไม่ห่มหุ้ม ไม่สวมใส่) กล่าวคือ ไม่หุ้มอะไรไว้ที่ฟัน ใช้พูดเมื่อ “ไม่ใส่ใจความรู้สึกของอีกฝ่าย”
Mind Map ศัพท์ญี่ปุ่น ตอนที่ 7 สนุกกับคำวิเศษณ์
คำวิเศษณ์น่ารู้
คำวิเศษณืในภาษาญี่ปุ่น ใช้เป็นตำแสดฃเพื่อชี้ให้เห็นถึงอาการ ลักษณะการเคลื่อนไหวปริมาณ คุณลักษณะ หรือสภาพต่าง ๆ ว่ามีลักษณะเป็นอย่างไร เพื่อให้ได้ความหมายที่มีความละเอียดและชัดเจนมากยิ่งขึ้น
ตะลุยไวยากรณ์และคำศัพท์
สำหรับสอบวัดระดับ ภาษาญี่ปุ่น N4
ตะลุยไวยากรณ์และคำศัพท์ ตอน ~し
ความหมาย : ทั้ง...ทั้ง..., ทั้ง...ก็...ทั้ง...ก็..., ทั้ง...แล้วก็...ด้วย, ...และ...ก็...ด้วย, ด้วย...ด้วย
อธิบาย ใช้เมืองต้องการกล่าวถึงสาเหตุที่มากกว่า 1 สาเหตุขึ้นไป เกี่ยวกับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ในกรณีที่รูปประโยคมี ーし เพียงแค่ 1 คำ จะแฝงความรู้สึกในลักษณะที่ว่า ยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีกด้วย โดยจะละคำอธิบายด้านหลังเอาไว้ เพื่อให้อีกฝ่ายเข้าใจได้ด้วยตนเอง
สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่น (ฉบับทำใหม่) Ep.8 Setoo (ที่อาบน้ำสาธารณะ)
. . . . . せっけん 銭湯は、お風呂屋さんとも呼ばれ、料金を支払って入浴する大衆浴 場です。かつて自分の家に風呂を持つ人が少なかった頃、夕暮れ時 ともなると、町のあちこちで、手に手にタオル、石鹸などを持ち, 銭湯へ行き帰りする人の姿が大勢見られました。当時、銭湯は、近 所の人々との親しみに満ちた社交の場でもあり、入浴しながら「よ もやま話」に花が咲きました。
. . . . . 最近はほとんどの家庭に風呂があり、銭湯を利用する人は減ってき ましたが、自分の家に風呂があっても、時々広々とした銭湯へ行くのを楽しみにしている人もいます。浴場の他に、ゲームセンター、娯楽室、多目的ホールなどを備える大規模な公衆浴場もあり、人気 を呼んでいます。
. . . . . เซ็นโต (SENTOO) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า โอะ-ฟุโระยะ-ซัง (o-furoya-san) เป็นสถานที่อาบน้ำสาธารณะที่ประชาชนสามารถเสียค่าธรรมเนียมมาอาบน้ำได้ในสมัยที่บ้านเรือนน้อยหลังมีห้องน้ำในบ้านของตัวเอง เราจะพบเห็นคนจำนวนมากถือผ้าเช็ดตัว สบู่ ฯลฯ ไปและกลับจากเซ็นโต ตามทุกหนแห่งในเมืองในต้นเย็นเซ็นโตเป็นสถานที่ขึ้นชื่อสำหรับการสังคมกับเพื่อนบ้านและผู้คนที่นี่จะอาบน้ำไปพูดคุยกันไปเกี่ยวกับทุกเรื่อง
. . . . . จำนวนผู้ที่มาใช้เซ็นโตได้ลดลงในระยะหลังนี้เนื่องจากปัจจุบันบ้านเรือนส่วนใหญ่มีห้องอาบน้ำอยู่ด้วย กระนั้นก็ตาม บางคนยังนิยมไปเซ็นโตเป็นครั้งคราวแม้ว่าจะมีห้องอาบน้ำอยู่ที่บ้านก็ตาม เซ็นโตขนาดใหญ่บางแห่งจะมีศูนย์เกม ห้องนันทนาการ ห้องโถงอเนกประสงค์ เป็นต้น นอกเหนือจากห้องอาบน้ำและกำลังได้รับความนิยม
โจทย์ 500 N4 – N5 EP.7
สัปดาห์ที่ 1 วันที่ 7 (EP7.)
* เมื่อจบวันที่ 6 ให้จดบันทึก จำนวนข้อที่ตอบถูก
* ถ้าทำส่วนไหนได้น้อย ให้ลองทำใหม่อีกครั้ง แล้วค่อยเริ่มทำโจทย์วันที่ 7
* วันที่ 7 เป็นการทบทวนเมื่อทำเสร็จแล้ว ให้จดบันทึก จำนวนข้อที่ตอบถูกเพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้
ตัวอักษร ครั้งที่ 1 – 3 . . . . /30ข้อ (วันที่ 1 – 6) . . . . /12ข้อ (วันที่ 7 ทบทวน)
คำศัพท์ ครั้งที่ 1 – 3 . . . . /30ข้อ (วันที่ 1 – 6) . . . . /12ข้อ (วันที่ 7 ทบทวน)
ไวยากรณ์ ครั้งที่ 1 – 3 . . . . /30ข้อ (วันที่ 1 – 6) . . . . /12ข้อ (วันที่ 7 ทบทวน)
** วันที่ 7 เป็นการทบทวนเนื้อหาของวันที่ 1 – 6
หากมีข้อสงสัย ขอให้ย้อนหลับไปดู โจทย์ข้อที่ปรากฎใน หลังข้อของวันที่7 (xxx)
โจทย์กับคำตอบจะแยกกันนะคะ
โจทย์ EP7. อ่านรายละเอียด
คำตอบโจทย์ EP7. อ่านรายละเอียด
โจทย์ 500 N4 – N5 ทุก EP. อ่านรายละเอียด
แบบฝึกหัด (พร้อมคำตอบ)
* แต่ละตอนของแบบฝึกหัด 10 coin = 5 บาท เพื่อเป็นกำลังใจให้แอดมินนะเจ้าคะ
แบบฝึกหัด A
. . . . . จงเปลี่ยนตัวอักษรฮิรางานะให้เป็นอักษรโรมัน พร้อมแปลความหมายของคำศัพท์ให้ถูกต้องถูกต้องและการออกเสียง
แบบฝึกหัด B
. . . . . จงเปลี่ยนตัวอักษรโรมันให้เป็นอักษรฮิรางานะ พร้อมแปลความหมายของคำศัพท์ให้ถูกต้องถูกต้อง
แบบฝึกหัด C
. . . . . จงเขียนอักษรฮิรางานะโดยดูจากคำแปลที่กำหนดให้
โจทย์ตารางจะเป็นสีฟ้า
เฉลยตารางจะเป็นสีส้ม
ภาษาญี่ปุ่นวันละ 18 คำ "อักษร ค" สุดท้าย
เคี้ยว かむ、かみくだく『嚙む、噛み砕く』
แค่ไหน どのぐらい、どのくらい
แคตตาล็อก カタログ
แค้น うらむ『恨む』
แคนาดา カナダ
แคบ せまい『狭い』
แคมป์ キャンプ
แคลอรี่ カロリー
โค (วัว) うし『牛』
โค้ง (ส.ก.) まげる『曲げる』
(อ.ก.) まがる『曲がる』
--------------------------------------------------------------
โค้งคำนับ おじぎする『お辞儀する』
โคมไฟฟ้า でんきスタンド『電気スタンド』
โครงการ けいかく『懸隔』
โครงสร้าง こうぞう『構造』
โคลงเคลง ゆれる『揺れる』
โคลน どろ『泥』
ใคร だれ『誰』
ใครสักคน だれか『誰か』
漢字 ไม่ยากอย่างที่คิด
อักษรคันจิคำที่ 371 – 375
อักษรคันจิ คำที่ 371 定
ความหมาย : กำหนด ตัดสิน มอบหมาย ซี้ชัด มอบให้ แน่นอน ชัดเจน โชคชะตา ลิขิตชีวิต กฎ ระเบียบ กฎหมาย ข้อบังคับ
คำอ่าน : テイ、ジョウ、さだめる、さだめ、さだます、さだが
หมวดอักษร : 宀うかんむりหลังคา
อักษรคันจิ คำที่ 372 庭
ความหมาย : สวน อุทยาน สนามหญ้า
คำอ่าน : テイ、にわ
หมวดอักษร : 广まだれกว้าง, หลังคา, โรงงาน
อักษรคันจิ คำที่ 373 笛
ความหมาย : ขลุ่ย ปี่ แตร กระซิบ ผิวปาก
คำอ่าน : テキ、ふえ
หมวดอักษร : 竹ไผ่
อักษรคันจิ คำที่ 374 鉄
ความหมาย : เหล็ก รถไฟ รางรถไฟ แกร่ง
คำอ่าน : テツ
หมวดอักษร : 金ทอง
อักษรคันจิ คำที่ 375 転
ความหมาย : ย้าย เคลื่อน เปลี่ยน ม้วน กลิ้ง ล้ม สลับ เปลี่ยน ถ่ายทอด
คำอ่าน : テン、ころがる、ころげる、ころがす、ころぶ
หมวดอักษร : 車รถ
อักษรคันจิคำที่ 376 - 380
อักษรคันจิ คำที่ 376 都
ความหมาย : เมืองหลวง เมืองเอก ราชธานี นคร มหานคร
คำอ่าน : ト、ツ、むやこ
หมวดอักษร : 阝おおさとหมู่บ้าน, เนินดิน
อักษรคันจิ คำที่ 377 度
ความหมาย : องศา ดีกรี มุม ความเข็ม ครั้ง คราว ข้อ จำกัด เมื่อไรก็ตาม
คำอ่าน : ド、たび
หมวดอักษร : 广まだれกว้าง, หลังคา, โรงงาน
อักษรคันจิ คำที่ 378 投
ความหมาย : ขว้าง ปา เหวี่ยง โยน ทอดทิ้ง ทิ้งขว้าง โยนทิ้ง หย่อนบัตร
คำอ่าน : トウ、なげる
หมวดอักษร : 扌てへんมือ
อักษรคันจิ คำที่ 379 豆
ความหมาย : ถั่ว พืชตระกูลถั่ว
คำอ่าน : トウ、ず、まめ
หมวดอักษร : 豆 ถั่ว
อักษรคันจิ คำที่ 380 島
ความหมาย : เกาะ หมู่เกาะ
คำอ่าน : トウ、しま
หมวดอักษร : 山ภูเขา
漢字 ไม่ยากอย่างที่คิด อ่านรายละเอียด
เกร็ดความรู้ญี่ปุ่น “3 เรื่องน่ารู้ของวันหมดอายุบนฉลากอาหารญี่ปุ่น”
. . . . . ทุกครั้งที่เลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร สิ่งสำคัญที่ต้องดูให้ดีคือ วันหมดอายุ สำหรับบนฉลากอาหารของญี่ปุ่นมักพบคำว่า 消費期限 (Shouhikigen) หรือ 賞味期限 (Shoumikigen) บอกวันหมดอายุของอาหาร แต่ทั้งสองคำนี้ต่างก็มีความหมายและวิธีการใช้ที่แตกต่างกัน การเข้าใจความหมายของวันหมดอายุที่เขียนบนฉลากอาหารจะช่วยให้กินอาหารได้อย่างปลอดภัยและลดปริมาณอาหารเหลือทิ้งลงได้
มาดูกันว่าบนฉลากอาหารของญี่ปุ่น มีเรื่องอะไรที่น่าสนใจเกี่ยวกับวันหมดอายุบ้างนะ ?
1. 消費期限 (Shouhikigen) = วันหมดอายุการบริโภค
. . . . . คำว่า 消費期限 (Shouhikigen) มาจากการประสมคันจิคำว่า 消費 (Shouhi) = การบริโภค และคำว่า 期限 (Kigen) = วันที่ครบกำหนด เมื่อรวมทั้งสองคำเข้าด้วยกันจึงมีความหมายตรงกับคำว่า "วันหมดอายุ" (EXP - Expiry Date) ซึ่งก็คือวันสุดท้ายที่จะบริโภคอาหารนั้นได้อย่างปลอดภัย
. . . . . ผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้คำว่า 消費期限 (Shouhikigen) หรือ วันหมดอายุ (EXP) จะเป็นอาหารที่เสียง่ายและเสื่อมสภาพเร็วภายในระยะเวลา 5 วันนับจากวันที่ผลิต เช่น เนื้อสัตว์ ข้าวกล่อง ข้าวปั้น ขนมปัง เค้ก แซนด์วิช หลังจากเลยวันและเวลาที่ระบุบนฉลากแล้วจึงไม่ควรบริโภคอาหารนั้นต่อ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อร่างกายได้
2. 賞味期限 (Shoumikigen) = วันหมดอายุความอร่อย
. . . . . คำว่า 賞味期限 (Shoumikigen) มาจากการประสมคันจิคำว่า 賞味 (Shoumi) = ความอร่อย และคำว่า 期限 (Kigen) = วันที่ครบกำหนด เมื่อรวมทั้งสองคำเข้าด้วยกันจึงมีความหมายตรงกับคำว่า "ควรบริโภคก่อน" (BB - Best Before) ซึ่งก็คือวันสุดท้ายที่จะรักษาคุณภาพอาหารและรสชาติที่ดีที่สุดของอาหารนั้นได้
. . . . . ผลิตภัณฑ์อาหารที่ใช้คำว่า 賞味期限 (Shoumikigen) หรือ ควรบริโภคก่อน (BB) จะเป็นอาหารที่เสียยากและเก็บไว้ได้นาน เช่น นม ไข่สด อาหารแห้ง อาหารแช่แข็ง ขนมขบเคี้ยว อาหารกระป๋อง เครื่องดื่มบรรจุขวดพลาสติก บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป หากบริโภคภายในระยะเวลาที่ระบุบนฉลาก คุณภาพและรสชาติของอาหารจะดีที่สุด หากบริโภคหลังจากนั้นความสดใหม่และรสชาติของอาหารจะลดลงไป แต่อาหารจะยังไม่หมดอายุในทันที ถ้าสภาพของอาหารยังไม่บูดหรือเสียก็นำมาบริโภคหรือปรุงอาหารได้ตามปกติ แต่ถ้าอยากคงคุณภาพและรสชาติที่ดีที่สุดของอาหารเอาไว้ ก็ควรรีบกินก่อนที่จะเลยวันหมดอายุความอร่อยนะ
3. คำนวณวันหมดอายุด้วย 0.8
. . . . . ผลิตภัณฑ์อาหารของญี่ปุ่นที่ระบุวันหมดอายุด้วย 賞味期限 (Shoumikigen) มักแสดงวันหมดอายุที่สั้นกว่าความเป็นจริง เพราะผู้ผลิตจะกำหนดวันหมดอายุความอร่อยด้วยการตั้งค่าปัจจัยด้านความปลอดภัยที่ 0.8 เช่น หากอาหารมีระยะเวลารักษาคุณภาพได้ 10 วัน เมื่อนำมาคูณด้วย 0.8 จะได้เท่ากับ 10 x 0.8 = 8 วัน ด้วยเหตุนี้ บนฉลากอาหารจะแสดงวันหมดอายุความอร่อยว่าควรบริโภคภายในระยะเวลา 8 วัน แต่ในความเป็นจริงแล้วสามารถบริโภคได้อย่างปลอดภัยภายในระยะเวลา 10 วัน
. . . . . อย่างไรก็ตาม คุณภาพของอาหารอาจลดลงก่อนถึงวันหมดอายุได้ ขึ้นอยู่กับวิธีการเก็บรักษาอาหาร ดังนั้น ก่อนกินอาหารทุกครั้งจึงควรสังเกตว่า ลักษณะภายนอก กลิ่น และรสชาติของอาหารแปลกไปหรือไม่ หากพบว่าอาหารบูดหรือเสียแล้ว ห้ามกินเด็ดขาด !
. . . . . วันหมดอายุบนฉลากอาหารของญี่ปุ่นจะเรียงลำดับจาก ปี.เดือน.วัน เช่น หมดอายุวันที่ 15 เมษายน 2022 ก็จะระบุว่า 22.4.15 หรือ 2022.04.15 ทั้งนี้ก็มีผลิตภัณฑ์อาหารที่ไม่ได้ระบุวันหมดอายุด้วยเช่นกัน เนื่องจากเป็นอาหารที่คุณภาพและรสชาติไม่ค่อยเสื่อมสภาพหากเก็บรักษาอย่างเหมาะสม เช่น หมากฝรั่ง (ชนิดไม่มีส่วนผสมของสารไซลิทอล) น้ำตาล เกลือ ไอศกรีม รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ไม่แสดงวันหมดอายุ แต่จะระบุเพียง ปีและเดือนที่ผลิต เท่านั้น หรือที่ในภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า 製造年月 (Seizounengetsu) นั่นเอง
. . . . . ดังนั้น หากพบตัวเลขที่ระบุบนฉลากอาหาร ก็ดูให้ดีก่อนนะว่าเป็นวันที่ผลิต วันหมดอายุ หรือวันที่ควรบริโภคก่อน จะได้กินอาหารอย่างอร่อย ปลอดภัย และทันท่วงทีก่อนที่จะหมดอายุ (o^^o)
ข้อมูลอ้างอิง :
-> https://mainichigahakken.net/life/article/post-2888.php
-> https://www.pref.kanagawa.jp/docs/e8z/cnt/f6576/p1085364.html
-> https://www.shoukaken.co.jp/news/2631/
กุลวรากร เอกอัครากุล TPA Press
อาหารประจำสัปดาห์
ใคร ๆ ก็เข้าครัวไปกับ I’m JAVDEE วันนี้คือ
โอปันยากิ (I am Jadee)
ส่วนผสมสำหรับ14ชิ้น
-
ไข่ไก่ 6 ฟอง
-
น้ำตาลทราย160 กรัม
-
แป้งอเนกประสงค์ 360 กรัม
-
ผงฟู 4 ชช
-
นมจืด 400 มล.
-
กลิ่ยวนิลา 2 ชช
-
เกลือ 1/2 ชช
-
น้ำมัน 60 มล.
วิธีทำ
ดูตามคลิปเลยน้าคะ
------------------------------------------------
ติดตาม จาดี ได้ที่
(มีอะไรสอบถาม หรือพูดคุยกับจาดี ได้ทางเฟสบุ๊คนะคะ)
Facebook : https://www.facebook.com/littlesweet.bakery
Instagram : https://www.instagram.com/jadee_little_sweet/
Youtube Little sweet Little channel :
https://www.youtube.com/c/LittleSweetLittleChannel
เคดิต ขอขอบคุณ Little Sweet / Little Channel (I’am จาดี)
















