top of page

นิตรสาร  さくら ฉบับที่ 10

นิตรสารใหญ่.png

นิตยสาร さくらStyle

วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2564

            สวัสดีพี่น้องชาวไทย ยินดีที่ได้รู้จักกับนิตยสาร さくらStyle วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2564  ฉบับที่ 10

            นิตยสารฉบับที่ 10 นี้ เราจะพาไปดู

  • ことわざ慣用句 สุภาษิต สำนวน EP.9

  • Mind Map สนุกกับคำกริยา EP.6 สนุกกับคำคุณศัพท์

  • ตะลุยไวยากรณ์และคำศัพท์ EP.8 “~ことになる

  • สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่น EP.7 Yukata (ยุคะตะ)

  • โจทย์ 500 N4 – N5 EP.6

  • ภาษาญี่ปุ่นวันละ 20 คำ "อักษร ค"

  • 漢字 ไม่ยากอย่างที่คิด 361 – 370 

  • เกร็ดความรู้ญี่ปุ่น

  • ใคร ๆ ก็เข้าครัวไปกับ I’m JAVDEE “ชิฟฟ่อนเลม่อน”

 

ことわざ慣用句 สุภาษิต สำนวน Ep.9  寝耳に水 (น้ำเข้าหูตอนหลับ)

[ความหมาย]

ตกใจมากกับสิ่งที่ไม่คาดคิดมาก่อน

               ลักษณะเหมือนตอนกำลังนอนหลับอยู่แล้วตกใจที่จู่ ๆ ก็มีน้ำมาเข้าหู

อ่านรายละเอียด

 

Mind Map ศัพท์ญี่ปุ่น ตอนที่ 6 สนุกกับคำคุณศัพท์

               บทก่อนได้เรียนรู้ถึงคำกริยาน่ารู้กันมาแล้วในบทนี้จะขอพูดถึงคำคุณศัพท์ต่าง ๆ ที่ใช้บ่อยในชีวิตประจำวัน

อ่านรายละเอียด

 

ตะลุยไวยากรณ์และคำศัพท์

สำหรับสอบวัดระดับ ภาษาญี่ปุ่น N4

ตะลุยไวยากรณ์และคำศัพท์ ตอน ~ことになる

ความหมาย : ตกลงว่าจะทำ..., ถูกกำหนดว่า..., ถูกตัดสินใจว่า..., เป็นที่ตกลงกันแล้วว่าจะ...

อธิบาย  ใช้กล่าวถึงเรื่องที่ผู้อื่นตัดสินใจ หรือเป็นหารสรุปเนื้อเรื่องที่ได้ผ่านการพูดคุยตกลงกันจากหลาย ๆ ฝ่าย ซึ่งเป็นเรื่องที่ตัดสินใจหลังจากที่ได้ปรึกษาหารือกันแล้ว จนได้ข้อสรุปสุดท้ายออกมาเกี่ยวกับการกระทำในอนาคต

อ่านรายละเอียด

ตะลุยไวยากรณ์และคำศัพท์

 

สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่น (ฉบับทำใหม่) Ep.7 Yukata (ยุคะตะ)

     『ゆかた』は、肌ざわりの良い木綿地でつくられた『きもの』の一 種です。主として紺や白地で、柄としても単純な伝統的な模様が使われることが多く、男女ともに、夏のふだん着として素肌にじかに 着ます。帯も簡単な半幅帯や兵児帯をしめます。

     ゆかたが映えるのは、何といっても夏の夕方から夜にかけて、野外で行われるレクリエーションに出かけるときでしょう。夏祭りなど のさまざまな露店をめぐったり,花火大会で夜空を彩る花火を観賞したり、盆踊りの輪に加わったりするには、男女とも『ゆかた姿』 が一番似合います。           

     ยุคะตะ (YUKATA) เป็นกิโมโนผ้าฝ้ายชนิดหนึ่งที่สวมใส่แล้วจะรู้สึกสบายผิว โดยมากใช้สีน้ำเงินหรือขาว และเป็นลายพื้น ๆ ง่าย ๆ แบบดั้งเดิมของญี่ปุ่น

     ทั้งหญิงและชายจะสวมยุคะตะเป็นชุดลำลองในฤดูร้อนโดยไม่มีกิโมโนชั้นใน และคาดโอะบิ (obi = ผ้าคาดอกชุดกิโมโน) ก็แบบง่าย ๆ อย่างเช่น ฮังฮะบะโอะบิ (hanhaba-obi -โอะบิความกว้างครึ่งหนึ่งของโอะบิปกติสำหรับผู้หญิง) หรือ เฮะโคะ-โอะบิ (heko-obi =โอะบิแบบผ้าอ่อนสำหรับเด็กหรือผู้ชาย)

     ช่วงเวลาที่ดีที่สุดสำหรับสวมยุคะตะ คือเวลาที่ออกไปพักผ่อนหย่อนใจนอก บ้านตั้งแต่เย็นถึงค่าในฤดูร้อน หญิงและชายในชุดยุคะตะจะเหมาะเจาะอย่างที่สุด สำหรับเดินไปตามแผงขายของริมถนน เพลิดเพลินไปกับการแสดงพลุไฟที่ชวน หลงใหลในยามค่ำคืน ตลอดจนเข้าร่วมรา บงโอะโดะริ (bon-odori การรวง พื้นบ้านที่จัดขึ้นตอนกลางคืนในท้องถิ่นต่าง ๆ ตลอดเทศกาล โอะบัง ในฤดูร้อน)

Ep.7 Yukata (ยุคะตะ)

สัมผัสวัฒนธรรมญี่ปุ่น ทุก Ep.

 

โจทย์ 500 N4 – N5 EP.6

สัปดาห์ที่ 1 วันที่ 6 (EP6.)

            * เมื่อจบวันที่ 6 ให้จดบันทึก จำนวนข้อที่ตอบถูก

            * ถ้าทำส่วนไหนได้น้อย ให้ลองทำใหม่อีกครั้ง แล้วค่อยเริ่มทำโจทย์วันที่ 7

            * วันที่ 7 เป็นการทบทวนเมื่อทำเสร็จแล้ว ให้จดบันทึก จำนวนข้อที่ตอบถูกเพื่อตรวจสอบผลการเรียนรู้

ตัวอักษร ครั้งที่ 1 – 3 . . . . /30ข้อ (วันที่ 1 – 6) . . . . /12ข้อ (วันที่ 7 ทบทวน)

คำศัพท์ ครั้งที่ 1 – 3 . . . . /30ข้อ (วันที่ 1 – 6) . . . . /12ข้อ (วันที่ 7 ทบทวน)

ไวยากรณ์ ครั้งที่ 1 – 3 . . . . /30ข้อ (วันที่ 1 – 6) . . . . /12ข้อ (วันที่ 7 ทบทวน)

--------

โจทย์กับคำตอบจะแยกกันนะคะ

โจทย์ EP6. อ่านรายละเอียด

คำตอบโจทย์ EP6. อ่านรายละเอียด

โจทย์ 500 N4 – N5 ทุก EP. อ่านรายละเอียด

 

ภาษาญี่ปุ่นวันละ 20 คำ "อักษร ค"

เครื่องบิน ひこうき『飛行機』

เครื่องแบบ せいふく『制服』

เครื่องประดับ そうしょくひん、アクセサリー『装飾品』

เครื่องปรับอากาศ れいぼう、クーラー、エアコン『冷房』

เครื่องมือ どうぐ、こうぐ『道具、工具』

เครื่องยนต์ エンジン

เครื่องยนต์ไอพ่น ジェットき『ジェット機』

เครื่องราง おまもり『お守り』

เครื่องเรือน かぐ『家具』

เครื่องสำอาง けしょうひん『化粧品』

--------------------------------------------------------------

เครื่องหมาย しるし、きごう『記し、記号』

เคลื่อนที่ いどうする『移動する』

เคลื่อนย้าย  (ส.ก.) うつす『移す』

            (อ.ก.) うつる『移る』

เคลื่อนไหว うごく『動く』

เคหสถาน じゅうきょ、すまい『住居、住まい』

เคาน์เตอร์ カウンクー

เคารพ そんけいする『尊敬する』

เคาะ たたく、ノックする『叩く』

เคาะประตู とをたたく『戸を叩く』

เคี่ยว につめる『煮詰める』

อ่านรายละเอียด

 

漢字 ไม่ยากอย่างที่คิด

อักษรคันจิคำที่ 361 – 365

อักษรคันจิ คำที่ 361

ความหมาย :       ถ่าน เถ้าถ่าน ถ่านหิน

คำอ่าน :           タン、すみ

หมวดอักษร :     ไฟ

อักษรคันจิ คำที่ 362

ความหมาย :      สั้น ห้วน กุด ด้วน

คำอ่าน :          タン、みじかい

หมวดอักษร :     ลูกศร

อักษรคันจิ คำที่ 363

ความหมาย :       พูดคุย สนทนา ปราศัย

คำอ่าน :          ダン

หมวดอักษร :      พูด

อักษรคันจิ คำที่ 364

ความหมาย :       ใส่ สวม แต่ง แต่งกาย คลุม มาถึง ไปถึง เสื้อผ้า เครื่องแต่งกาย ใส่หน้ากาก

คำอ่าน :           チャク、きる、きせる、つく、つける、き、ぎ

หมวดอักษร :      แกะ

อักษรคันจิ คำที่ 365

ความหมาย :       เตือน ใส่ใจ ริน เต็มไหล หลัง ฉีด

คำอ่าน :           チュウ、そそぐ、つぐ

หมวดอักษร :      さんすい น้ำ

อ่านรายละเอียด

 

อักษรคันจิคำที่ 366 - 370

อักษรคันจิ คำที่ 366

ความหมาย :       เสา เสาบ้าน เสาไฟ ตอมอ

คำอ่าน :           チュウ、はしら

หมวดอักษร :      ไม้

อักษรคันจิ คำที่ 367

ความหมาย :       พอดี เลขจำนวนคู่ หมู่ที่ แขวงที่ หน่วยนับ เต้าหู้

คำอ่าน :           チョウ

หมวดอักษร :      หนึ่ง

อักษรคันจิ คำที่ 368

ความหมาย :       สมุด สมุดบันทึก สมุดบันทึกช่วยจำ ผ้า แขวน

คำอ่าน :           チョウ

หมวดอักษร :      はばへん ผ้า

อักษรคันจิ คำที่ 369 調

ความหมาย :       เสียงสูงต่ำ กระแสระดับเสียง จังหวะ ทำนอง ตรวจสอบ สอบสวน สอบถาม ค้นคว้า อ้างถึง ปรึกษา ถาม สืบเสาะ สืบสวน สืบหา ได้รับ ตระเตรียม จ่าย จัดหา ยกขึ้น จัดแจง ลงตัว

คำอ่าน :           チョウ、しらべる、ととのる

หมวดอักษร :      พูด

อักษรคันจิ คำที่ 370

ความหมาย :       ตาม ติดตาม ไล่ตาม ติดตาม สะกดรอย ขับ

คำอ่าน :           ツイ、おう

หมวดอักษร :      しんにょうนั่งเรือ

อ่านรายละเอียด

漢字 ไม่ยากอย่างที่คิด อ่านรายละเอียด

 

เกร็ดความรู้ญี่ปุ่น “แบบนี้ก็มีด้วย! 7 ความเชื่อสุดแปลกของคนญี่ปุ่น”

. . . . . แม้ประเทศญี่ปุ่นจะดูเป็นประเทศที่ทันสมัยและมีเทคโนโลยีสุดล้ำมากมาย แต่ในอีกมุมหนึ่งก็ยังคงมีความเชื่อในหลายๆ เรื่อง ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน บ้างก็เป็นความเชื่อแปลกๆ และบ้างก็เป็นความเชื่อที่หากรู้ไว้ในฐานะนักท่องเที่ยวก็ไม่เสียหาย และทำให้เข้าใจวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นมากขึ้น จะมีความเชื่อเกี่ยวกับอะไรบ้างนั้นก็ไปดูกันเลย

 

1. ความเชื่อเรื่องตัวเลข

. . . . . เลข 1 สำหรับคนญี่ปุ่นถือเป็นเลขดี ซึ่งมีความหมายโดยทั่วไปว่าการเริ่มต้น หรือการเป็นที่หนึ่ง โดยสังเกตได้จากร้านอาหารและธุรกิจต่างๆ ที่มักจะชอบใช้คำว่า "อิจิ" ซึ่งหมายถึงเลขหนึ่ง มาประกอบกับชื่อร้านหรือธุรกิจของตัวเองเพื่อให้มีความเป็นที่หนึ่งเสมอ

. . . . . เลข 4 ถือเป็นเลขที่อัปมงคลที่สุดสำหรับชาวญี่ปุ่น เนื่องจากคำว่า “ชิ” ที่หมายถึงเลขสี่ในภาษาญี่ปุ่นนั้นพ้องกับคำที่แปลว่าความตาย โดยไม่ว่าจะทำอะไรก็จะต้องพยายามเลี่ยงเลขสี่ หรือจำนวนสี่ชิ้นอยู่เสมอ เช่นการซื้อดอกไม้ หรือซื้อขนมเป็นของฝากคนอื่น

. . . . . เลข 5 ถือเป็นเลขดีอีกหนึ่งเลขสำหรับชาวญี่ปุ่น เนื่องจากคำว่า “โกะ” ที่หมายถึงเลขห้าในภาษาญี่ปุ่นถูกนำไปเชื่อมโยงกับคำว่า “โกะเอ็ง” ซึ่งมีความหมายในทางที่ดีที่แปลว่า “ความสัมพันธ์ หรือการพบรัก” รวมถึงเวลาที่ชาวญี่ปุ่นไปขอพรที่ศาลเจ้า ก็ยังนิยมโยนเหรียญ 5 เยนเพื่อให้สมปรารถนาอีกด้วย

. . . . . เลข 9 เป็นเลขอัปมงคลอีกหนึ่งเลขในความเชื่อของชาวญี่ปุ่น เนื่องจากคำว่า “คุ” ที่หมายถึงเลขเก้าในภาษาญี่ปุ่นนั้นพ้องเสียงกับคำที่แปลว่าความเจ็บปวด หรือความทรมาน จึงเป็นอีกหนึ่งตัวเลขที่ชาวญี่ปุ่นพยายามเลี่ยงเหมือนกับเลขสี่ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม

 

2. ปีชงและการแก้เคล็ด

. . . . . ชาวญี่ปุ่นเชื่อกันว่าปีชงไม่ได้มีเพียงครั้งเดียวในชีวิต และปีชงในแต่ละครั้งจะกินเวลาราว 3 ปี และปีชงสำหรับเพศหญิงและเพศชายนั้นจะแตกต่างกันอออกไป ส่วนความเชื่อโดยทั่วไปนั้นจะคล้ายกับคนไทย ที่เชื่อกันว่าเป็นปีที่เกิดเรื่องร้ายๆ ขึ้นได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นอุบัติเหตุ การเจ็บป่วย ไปจนถึงหนี้สินหรือเรื่องทุกข์ต่างๆ และเป็นช่วงเวลาที่ควรใช้ชีวิตอย่างระมัดระวังเป็นพิเศษ

. . . . . โดยปีชงตามความเชื่อของคนญี่ปุ่นสำหรับเพศชายคือช่วงอายุ 25 ปี 42 ปี และ 61 ปี ส่วนเพศหญิงอยู่ที่อายุ 19 ปี 33 ปี และ 61 ปี

. . . . . สำหรับการแก้เคล็ดปีชง โดยทั่วไปจะเป็นการไปขอพรที่ศาลเจ้าเพื่อปัดเป่าโชคร้ายต่างๆ และอาจมีการทำพิธีเพื่อแก้เคล็ดเป็นพิเศษ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมแตกต่างกันออกไป นอกจากนี้ก็เป็นการซื้อเครื่องรางไม่ว่าจะเป็นแบบกระดาษที่เรียกว่า “โอฟุดะ” หรือเครื่องรางเล็กๆ ที่เรียกว่า “โอมาโมะริ” สำหรับพกติดตัวเอาไว้ โดยหนึ่งในวัดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในเรื่องการแก้ชงสำหรับชาวญี่ปุ่นคือวัดโซซูจิ (Soshuji Temple) ในจ.โทชิงิ

 

3. ห้ามเหยียบขอบของเสื่อทาทามิ เพราะจะทำให้โชคร้าย

. . . . . เสื่อทาทามิถือเป็นสิ่งที่พบได้ทั่วไปในสถานที่ต่างๆ ในญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นบ้าน วัด หรือแม้แต่ร้านรวงต่างๆ แต่ชาวญี่ปุ่นเองก็มีความเชื่อว่าห้ามเหยียบไปที่บริเวณขอบของเสื่อทาทามิ เพราะคนที่เหยียบอาจต้องเจอกับโชคร้าย นอกจากนี้ บ้านของคนญี่ปุ่นบางบ้านยังมีการสลักตราสัญลักษณ์ของครอบครัวเอาไว้ที่บริเวณขอบเสื่อทาทามิ การเหยียบไปที่บริเวณนี้จึงเปรียบเสมือนการลบหลู่บรรพบุรุษของเจ้าของบ้านอีกด้วย

 

4. ห้ามนอนหันหัวไปทางทิศเหนือ

. . . . . ในงานศพของคนญี่ปุ่น ศพจะถูกตั้งไว้โดยหันหัวไปทางทิศเหนือ ทำให้คนญี่ปุ่นเชื่อกันว่าหากคนที่ยังมีชีวิตอยู่นอนหันหัวไปในทิศนี้ ก็จะเผชิญกับโชคร้าย หรืออาจจะเกิดเคราะห์ร้ายที่ถึงแก่ชีวิตได้เลย นอกจากนี้คนญี่ปุ่นยังมีความเชื่อเรื่องดาวเหนือ ซึ่งถือเป็นดาวประจำทิศเหนือ และยังเป็นดาวแห่งความตาย ดังนั้นการนอนหันหัวไปทางทิศเหนือ เท่ากับเป็นการหันไปหาทิศแห่งความตาย จึงถือว่าเป็นสิ่งไม่เป็นมงคลอย่างยิ่ง

 

5. ห้ามทำความสะอาดบ้านในวันปีใหม่

. . . . . การห้ามทำความสะอาดบ้านในวันปีใหม่ รวมถึงในวันมงคลต่างๆ ถือเป็นความเชื่อที่มีร่วมกันทั้งคนไทย คนจีน และคนญี่ปุ่น ซึ่งศาสนาชินโตเชื่อว่าวันปีใหม่นั้น ถือเป็นวันที่มีความศักดิ์สิทธิ์ที่สุดของปี รวมถึงเป็นวันต้อนรับเทพเจ้าอีกด้วย การทำความสะอาดบ้านในวันนี้จึงเปรียบเสมือนการปัดเอาโชคดีและความเป็นศิริมงคลต่างๆ ออกจากบ้าน และอาจทำให้ต้องเจอกับเรื่องร้ายๆ ไปตลอดทั้งปีนั้นเลย

 

6. ห้ามตัดเล็บตอนกลางคืน

. . . . . การห้ามตัดเล็บตอนกลางคืนตามความเชื่อของชาวญี่ปุ่นมีหลากหลายสาเหตุด้วยกัน บ้างก็เชื่อว่าอุปกรณ์ที่ใช้ตัดเล็บในเวลานั้นจะมีพลังวิญญาณที่สามารถดึงดูดให้วิญญาณเข้ามาหาได้ จนอาจต้องเผชิญกับโชคร้ายต่างๆ และบ้างก็เชื่อว่าอักษรในภาษาญี่ปุ่นคำว่า “โย” ที่แปลว่า “กลางคืน” กับคำว่า “ซึเมะ” ที่แปลว่า “เล็บ” เมื่อเอามารวมกันจะออกเสียงเป็นได้ว่า “โยตสึเมะ” ซึ่งมีความหมายว่า “การตัดอายุให้สั้นลง”

 

7. ให้เอาเสื้อปิดสะดือในเวลาที่ฝนตกฟ้าร้อง

. . . . . การให้เอาเสื้อปิดสะดือในวันที่ฝนตกฟ้าร้อง และมีฟ้าผ่า เป็นความเชื่อที่คนญี่ปุ่นใช้สอนเด็กๆ มาเป็นเวลานาน โดยมาจากความเชื่อเรื่องเทพเจ้าไรจิน ซึ่งเป็นเทพแห่งสายฟ้าตามความเชื่อของชาวญี่ปุ่น ซึ่งมีเพื่อนสนิทคือเทพไรจู ซึ่งเป็นเทพที่ชอบเข้าไปนอนในสะดือคน และเทพไรจินจะปลุกเทพไรจูด้วยการใช้ฟ้าผ่า

               ดังนั้นถ้าเด็กคนไหนไม่อยากถูกฟ้าผ่ากลางสะดือ ก็ต้องปิดสะดือให้มิดชิดเพื่อไม่ให้เทพไรจูเข้าไปนอนได้ โดยเหตุผลเบื้องหลังความเชื่อนี้คือการสอนเด็กๆ ให้แต่งตัวอย่างมิดชิดในวันที่สภาพอากาศไม่ดีเพื่อป้องกันอาการเจ็บป่วยนั่นเอง

เกร็ดและเรื่องอื่น ๆ

 

อาหารประจำสัปดาห์

ใคร ๆ ก็เข้าครัวไปกับ I’m JAVDEE วันนี้คือ

ชิฟฟ่อนเลม่อน (I am Jadee) 

 

ชิฟฟ่อนเลม่อน (2.5ปอนด์)

  1. ไข่แดง(เบอร์2)   5 ฟอง

  2. น้ำตาลทราย 25 กรัม

  3. น้ำมันรำข้าว 60 กรัม

  4. น้ำเปล่า 62 มล.

  5. น้ำเลม่อน 2+1/2 ชต

  6. สีผสมอาหาร 2-3 หยด

  7. กลิ่นเลม่อน 1 ชช

  8. เกลือ 1/4 ชช

  9. แป้งเค้ก 106 กรัม

  10. ผงฟู 1/2 ชช

  11. ผิวเลม่อน 1+1/2 ชช

 

ส่วนเมอแรงค์

  1. ไข่ขาว5ฟอง

  2. น้ำตาลทราย 82 กรัม

  3. ครีมออฟทาทาร์ 1/4 ชช

 

วิธีทำ

            ดูตามคลิปเลยน้าคะ

 

 

 

 

 

 

 

------------------------------------------------

ติดตาม จาดี ได้ที่

(มีอะไรสอบถาม หรือพูดคุยกับจาดี ได้ทางเฟสบุ๊คนะคะ)

Facebook : https://www.facebook.com/littlesweet.bakery

Instagram : https://www.instagram.com/jadee_little_sweet/

Youtube Little sweet Little channel :

https://www.youtube.com/c/LittleSweetLittleChannel

เคดิต ขอขอบคุณ Little Sweet / Little Channel (I’am จาดี)

1.webp
2.webp
3.webp
4.webp
5.jpg
6.webp
7.webp
8.webp
bb57.gif
bb57.gif
bb57.gif
bb57.gif
bb57.gif
bb57.gif
bb57.gif
bb57.gif
bb57.gif
bb57.gif
maxresdefault.jpg
bb57.gif

เว็บนี้เป็นการเรียนภาษาญี่ปุ่นด้วยตนเอง

 

ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั้น

 - - - ตามใดที่ทุกคนพยายาม - - -

Thanks for submitting!

Join us on:

 

  • Facebook Classic
  • f7e8c32d420b6da05f807488ebf8a1e5

© 2019 by Sagurazaga Akira.

Proudly created with Wix.com 

bottom of page