top of page

ไดนิชิ โงไร

 

     “ไดนิชิ โงไร” คือรูปหนึ่งของพระโพธิสัตว์มหาไวโรจนะ เป็นที่รูปจักในญี่ปุ่นเมือตอนเริ่มศัตวรรษที่ 9 พร้อมกับพระโพธิสัตว์อีกหลายองค์ ไม่นานก็กลายเป็นเทพสูงสุดในนิกายบางนิกาย โดยนับถือกันว่าเป็นพระปฐมพุทธะ และเป็นพระผู้รักษาเยียวยา

     ตามประวัติกล่าวอีกว่าความนิยมในพระไดนิชิ โงไร เสื่อมลงตั้งแต่ราวศตวรรษที่ 18 แต่หลังจากนั้น 50 ปี โคไบไดชิได้นำนิกายนี้เข้ามาในญี่ปุ่น การเผยแพร่ได้ผลสำเร็จ ต่อจากนั้นเขาก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของการบูชาในนิกายชินกอน ภายใต้นามไดนิชิ โงไร

     หลังจากนั้นรูปภาพของไดนิชิ โงไร มักทำในรูปวงกลมสองวงซ้อนกัน อันหมายถึงมุมมองด้านตรงข้ามสองข้อ คือ ความจริงอันสูงสุดกับความรู้อันเป็นที่สุด สำหรับภาพที่แสดงให้เห็นถึงมุมมองแรก ภาพไดนิชิ โงไร จะมีรัศมีสีแดง ประทับนั่งอยู่บนดอกบัวแดง อากัปกิริยาท่าทางสำราม วางนิ้วเป็นรูปสามเหลี่ยม ส่วนภาพที่สองท่านมีรัศมีสีขาว ประทับนั่งอยู่บนดอกบางขาว ในท่าทางที่แสดงให้เห็นถึงการระลึกได้ครั้งแรกไดนิชิ โงไร ต่างจากพระพุทธรูปอื่น ๆ ตรงที่รูปของท่านมีการตกแต่งอย่างสวยงาม ทั้งยังมงกุฎคล้ายกับพระโพธิสัตว์

     ภาพวงกลมของนิกายชินกอนที่กล่าวถึงนี้ยังมีการสร้างภูมิต่างของพระพุทธอื่น ๆ ในปางอื่น ๆ เปรียบเทียบให้เห็นว่าพระพุทธดำรงอยู่ในเวลาเดียวกันทุกหนทุกแห่ง และถือกันว่ามีพระพุทธที่เป็นหลักสำคัญอยู่ห้าองค์คือ ไดนิชิ โงไร อยู่ตรงศูนย์กลาง ที่เหลืออีกสี่องค์ประกอบด้วยองค์แรก อซูกุ โงไร (พระพุทธอัคโสภายา) หรือในบางทีก็นับว่าเป็นองค์เดียวกับ บากูชิ โงไร ประจำอยู่ทางทิศตพวันออก องค์ที่สอง โฮโซ โงไร (พระพุทธรัตนะสัมภวะ) ประจำอยู่ทางทิศใต้ องค์ที่สาม อมิตา โงไร ประจำอยู่ทางทิศตะวันตก องค์ที่สี่ ฟูกูโจจู โงไร (พระพุทธอโมกาสิทธิ) หรือบางทีก็เป็น ซากา โงไร มาแทนประจำอยู่ทางทิศเหนือ

     พระทั้งห้าองค์ไม่ได้แทนที่ทิศทั้งหมดเท่านั้น แต่เปรียบให้เห็นธาตุ

     ทั้งห้าของคนญี่ปุ่น คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และช่องว่าง เปรียบถึงสีทั้งห้าของลำดับชั้น และเปรียบกับความรู้ทั้งห้าซึ่งสาวกที่ศรัทธาในนิกายนี้ต้องพยายามเรียนรู้ให้ไปถึงความรู้แจ้ง

© 2023 by Sagurazaga Hikaru. Proudly created with Wix.com

bottom of page